แผนยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์

“เป็นผู้ให้บริการข้อมูลและสารสนเทศด้านพลังงานของประเทศ ที่ตรงตามความต้องการและเป็นที่เชื่อถือของผู้ใช้ทุกกลุ่ม ทุกประเด็น”

ผู้ให้บริการ เป็นหน่วยงานซึ่งมีอำนาจในการเรียกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดเก็บ สรุป วิเคราะห์ คาดการณ์ และเผยแพร่ให้แก่ผู้ต้องการใช้ โดยมีอำนาจห้ามบุคคลหรือหน่วยงานใดผลิต และ เผยแพร่ข้อมูลลักษณะเดียวกันซึ่งมีผลต่างจากที่ศูนย์ฯ ได้นำเสนอตรงตามความต้องการ ข้อมูล สารสนเทศ บทวิเคราะห์ การคาดการณ์ ต้องเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ของผู้ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งด้านเนื้อหา รูปแบบ ช่วงเวลา และ ช่องทางนำเสนอ ผู้ใช้ทุกกลุ่ม ผู้ใช้บริการข้อมูลจากศูนย์ฯ ทั้งระดับหน่วยงานและระดับบุคคล ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ประชาชน NGOs รวมทั้งผู้ใช้ข้อมูลทุกช่วงอายุทุกประเด็น ศูนย์ฯ ให้บริการข้อมูลที่ครอบคลุมทุกประเด็นของพลังงาน

Slogan

“Your trusted source for Thailand energy information”

DNA

“เก่งหลายด้าน กล้ายืนหยัด ขยันสร้างสรรค์ แบ่งปันในทีม”

Digital NEIC

Digital Data Center ข้อมูลทันสมัย ถูกต้อง ตรงประเด็น

Digital Transformation พร้อมปรับเปลี่ยนสำหรับยุคดิจิทัล

Digital Data Service เข้าถึงง่าย บริการรวดเร็ว ตรงใจผู้รับบริการ

พันธกิจ

  1. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ได้มาตรฐานระดับสากลและตามหลักธรรมาภิบาล และตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้ข้อมูลทุกกลุ่ม
  2. ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายเพื่อให้ได้รับหรือเผยแพร่ข้อมูลพลังงานและประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องจาก องค์การต่าง ๆ
  3. ให้บริการข้อมูล สารสนเทศ บทวิเคราะห์ การคาดการณ์ ด้านพลังงานให้แก่ผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์
  4. เสริมสร้างการใช้ ความเข้าใจ การสร้าง และการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลแก่ผู้เกี่ยวข้อง

ค่านิยมองค์การ

Network มุ่งเน้นการเป็นสร้างเครือข่ายในการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมภารกิจต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ

Excellence มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการพัฒนาให้สู่ความเป็นเลิศ โดยตอบสนองต่อเป้าหมายและพันธกิจของศูนย์ฯ

Integrity นำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ และการคาดการณ์ที่เที่ยงตรง ไม่บิดเบือน

Customer oriented ให้บริการโดยยึดผู้ใช้บริการเป็นหลัก

เป้าประสงค์

  1. สังคมมีความเชื่อถือต่อการบริหารพลังงานของรัฐบาล
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อถือต่อผลผลิตของศูนย์

ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ที่ 1: สร้างความโปร่งใสให้สังคมเชื่อถือในการบริหารพลังงานของรัฐบาล

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ :

  1. ตอบข้อสงสัยด้านพลังงานให้แก่สังคมได้อย่างเหมาะสมได้ : ตรงประเด็น เข้าใจง่าย
  2. เผยแพร่ข้อมูล สารสนเทศ การพยากรณ์ ด้านพลังงานแก่ทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กลยุทธ์ :

  1. ส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ สร้างความมั่นใจ ผ่านช่องทางที่ตรงตามความต้องการแก่ผู้รับบริการ
  2. การสร้างเครือข่ายระดับประเทศที่สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ การสร้างความเข้าใจให้แก่สังคม
  3. ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและตอบสนองความต้องการและข้อสงสัยของผู้รับบริการในประเด็นต่าง ๆ
  4. ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ
  5. จัดทำขั้นตอนปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติงานและบังคับใช้อย่างเคร่งครัดในทุกระบบงาน กระบวนงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 2: สนับสนุนข้อมูล สารสนเทศ การวิเคราะห์ การคาดการณ์ เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ :

  1. ข้อมูล สารสนเทศ บทวิเคราะห์ ตัวแบบพยากรณ์ ด้านพลังงานมีมาตรฐานตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
  2. ผู้อยู่ในห่วงโซ่อุปทานได้รับประโยชน์จากการดำเนินการของศูนย์ฯ

กลยุทธ์ :

  1. ผลักดันการออกกฎหมายที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน
  2. ส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ สร้างความมั่นใจ แก่ผู้รับบริการ
  3. การสร้างเครือข่ายระดับประเทศตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำของอุตสาหกรรมพลังงาน รวมทั้งเครือข่ายวิชาการด้านพลังงานและเครือข่ายด้านสารสนเทศ
  4. ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและตอบสนองความต้องการและข้อสงสัยของผู้รับบริการในประเด็นต่าง ๆ
  5. สร้างประโยชน์ให้แก่หน่วยงานที่แลกเปลี่ยนข้อมูล
  6. ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ผู้รับบริการ
  7. การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล
  8. จัดทำขั้นตอนปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติงานและบังคับใช้อย่างเคร่งครัดในทุกระบบงาน กระบวนงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 3: เป็นองค์การสมรรถนะสูง

เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ :

  1. เป็น Best Practice ให้กับศูนย์ข้อมูลอื่นในประเทศ
  2. บุคลากรมีคุณลักษณะและสมรรถนะตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

กลยุทธ์ :

  1. ปรับโครงสร้างองค์การให้รองรับทุกภารกิจ
  2. ปลูกฝังการปฏิบัติงานโดยยึดค่านิยมทั้ง 4
  3. ผลักดันให้ผู้บริหารและบุคลากรนำเครื่องมือการบริหารมาประยุกต์ใช้
  4. ออกแบบระบบงาน กระบวนการ ขั้นตอนปฏิบัติงานให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เน้นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้
  5. ให้ความสำคัญกับการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในเพื่อลดความผิดพลาดและการสูญเสีย
  6. พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในภารกิจหลัก สามารถปฏิบัติงานได้แบบเบ็ดเสร็จในตัวคนเดียว เข้าใจและยอมรับในความหลากหลายของศาสตร์ต่าง ๆ รับรู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเป็นนักเจรจาเพื่อสร้างแนวร่วมและพันธมิตร
  7. ใช้สภาพเหตุการณ์จริง (หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจริง)ในการพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ และ ทักษะในการปฏิบัติงานที่หลากหลายและทันสมัย
  8. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แนวปฏิบัติที่ดีภายในหน่วยงาน
  9. ให้ความสำคัญกับการประเมินผลทั้งระดับ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย