แนวคิดการพัฒนา
ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยน รวบรวมข้อมูลด้านพลังงาน และข้อมูลทางเลือกมาจากหลายแหล่ง ตามบทบาทหน้าที่และกรอบความร่วมมือ และเป็นข้อมูลที่มีข้อบังคับความมั่นคงปลอดภัยที่หลากหลายตามฐานการได้มาของข้อมูล ดังนั้นทางศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ จำเป็นต้องมีการจัดทำ“ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐด้านพลังงาน” เพื่อใช้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ ในอนาคต และสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอุปสรรคในการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐให้สามารถดำเนินการได้ โดยที่ ไม่ขัดแย้งกับกฎระเบียบและข้อบังคับการเก็บรวบรวม การนำไปใช้ และการเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานเจ้าของข้อมูล โดยมีกระบวนการและขั้นตอนการพัฒนาดังนี้
(ร่าง) นโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล
การกำหนดนิยามของนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล คือการสร้างความสมดุลระหว่างการสร้างคุณค่าจากข้อมูลและการบริหารความเสี่ยงและความเข้ากันกับกฎระเบียบและมาตรฐานอย่างเหมาะสม (Balance between value creation, and risk and compliance) โดยการวางกรอบนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐด้านพลังงาน ตั้งแต่การจัดเก็บ จัดการดูแล นำไปใช้ และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศที่ประมวลและค้นพบ (Process และ Discovery Insights) เกี่ยวกับพลังงานของประเทศให้เป็นระบบและมาตรฐาน พร้อมทั้งมีความสอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติภายในที่เป็นไปตามกฎหมายด้านข้อมูล กรอบนโยบายจะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวปฏิบัติที่ฝ่ายงานต่าง ๆ ภายในศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ และส่วนงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายในกระทรวงพลังงานต้องนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยเข้าใจถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของการมีส่วนได้ส่วนเสียใน ข้อมูล รวมทั้งเป็นต้นแบบการดูแลข้อมูล และส่งเสริมความเชื่อมั่นของศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำข้อมูลด้านพลังงานของประเทศไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย
หลักการร่างนโยบายกำกับดูแลข้อมูล จะพิจารณาวงจรชีวิตของข้อมูลที่ชัดเจนเป็นระบบ สอดคล้องกับกฎหมายและให้ฝ่ายงานต่าง ๆ ภายในศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ สามารถนำมาใช้เป็นแนวปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยเข้าใจถึงสิทธิ หน้าที่ และความ รับผิดชอบ รวมทั้งจะครอบคลุมถึงการจัดตั้งบุคลากร ภายใน โดยข้อมูลทุกชุดต้องมีการ จัดเก็บรายละเอียด (กฎเกณฑ์ข้อมูล) อาทิเช่น การจัดชั้นความลับ (Classification) การกำหนดเจ้าของข้อมูล (Data Owner/Steward) การจัดตั้งผู้บริหารจัดการข้อมูล (Data Administrator) และการกำหนดรายละเอียดของแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินการ กำกับดูแลข้อมูล รวมทั้งแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้ในการสรรหาและแบ่งปันข้อมูล โดยการ จัดทำร่างนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
โครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูล
ประกอบด้วย คณะที่ปรึกษาด้านข้อมูล (Data Council) คณะทำงานด้านข้อมูล (Administration Board) ผู้บริหารข้อมูล (Data Management Team) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้แก่ เจ้าของข้อมูล (Data Owner) และผู้ใช้ข้อมูล (Data User) โดยอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคลากรจะมีการกำหนดไว้ในร่างธรรมาภิบาลข้อมูล จากนั้นศูนย์ฯ จำเป็นต้องกำหนดกระบวนการทำงานเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องจะใช้รูปแบบของกระบวนการตั้งแต่ COLLECT: ระบุแหล่งข้อมูล GOVERN: จัดการข้อมูลเบื้องต้น TRANSFORM: การพัฒนาสารสนเทศและแบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์ และ SHARE: เชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับเครื่องมือการวิเคราะห์และการแชร์ข้อมูล เพื่อให้สามารถดูแลกำกับ ข้อมูลได้ตลอดทั้งวงจรชีวิตของข้อมูลผ่านการประชุมหารือหรือแบบฟอร์มตามที่กำหนด
แนวปฏิบัติ
แนวปฏิบัติในการดำเนินงานกำกับดูแลข้อมูลระบุกระบวนการและขั้นตอนของการปฏิบัติงานกำกับดูแลข้อมูล ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ และเอกสารแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในกระบวนการทำงาน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงานกำกับดูแลข้อมูลของศูนย์แนวปฏิบัติ ประกอบไปด้วย