จำนวนยานยนต์ไฟฟ้า (Electric vehicle) มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)
ยอดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้า (Vehicle sale) รายปีเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) เช่นเดียวกัน
ประเทศไทยเริ่มมียานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าและมียอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นรถยนต์ไฟฟ้าโดยมีสัดส่วนของ PHEV มากกว่า BEV ปัจจุบันจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนมีสัดส่วนของรถยนต์มากกว่ารถตู้ รถโดยสารและรถบรรทุก
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : จำนวนยอดขายยานยนต์ไฟฟ้ารายประเทศ
ดาวน์โหลดข้อมูล : จำนวนยานยนต์ไฟฟ้จดทะเบียนรายประเทศ
ดาวน์โหลดข้อมูล : สัดส่วนยอดขายยานยนต์ไฟฟ้า ต่อยอดขายยานยนต์ทั้งหมด รายประเทศ
ดาวน์โหลดข้อมูล : สัดส่วนยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียน ต่อยานยนต์จดทะเบียนทั้งหมด รายประเทศ
โดยมีข้อกำหนดการใช้ข้อมูลดังนี้ : https://www.iea.org/terms/creative-commons-cc-licenses
ข้อมูลการจดทะเบียนและยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกแสดงให้เห็นการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละประเทศ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีและนโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนั้น ยังแสดงให้เห็นสัดส่วนประเภทของยานยนต์ไฟฟ้าที่สะท้อนให้เห็นความพร้อมของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท
เป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric vehicle, EV) และยานยนต์ที่ไร้มลพิษ (Zero-emission vehicle, ZEV) เป็นพื้นฐานสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง ในแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาคมีการกำหนดเป้าหมายที่แตกต่างกันทั้งระยะเวลาของเป้าหมาย เช่น ระยะสั้นและระยะกลาง รวมทั้งประเภทของยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถโดยสาร รถบรรทุก เป็นต้น จากการรวบรวมข้อมูลนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
ข้อมูลในส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงนโยบายและมาตรการหลักที่สนับสนุนการใช้งาน EV และ ZEV สำหรับรถยนต์ที่ใช้งานเบาและใช้งานหนัก สรุปมาตรการปัจจุบันตลอดจนเป้าหมายและความทะเยอทะยานที่ประกาศตามภูมิภาคและประเทศ นโยบายและมาตรการเหล่านี้มีหลายรูปแบบ เช่น มาตรฐานการประหยัดเชื้อเพลิง มาตรฐานการปล่อย CO2 แผนที่นำทางการดำเนินงาน และเป้าหมายยอดจำหน่ายหรือจำนวนรถยนต์ใน stock อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ไม่รวมมาตรการทางการคลัง เช่น เงินอุดหนุน มาตรการจูงใจทางภาษี ภาษีคาร์บอน หรือเครื่องมือนโยบายที่คล้ายกัน
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : ข้อมูลนโยบายและมาตรการส่งเสริมด้านยานยนต์ไฟฟ้ารายประเทศ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
IEA (2023), Global EV Policy Explorer, IEA, Paris
https://www.iea.org/data-and-statistics/data-tools/global-ev-policy-explorer
จุดชาร์จสาธารณะ (Public charging points) สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเทศต่างๆ จึงเร่งที่จะสร้างจุดชาร์จเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม สัดส่วนจุดชาร์จต่อจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งที่จะทำให้สร้างความน่าเชื่อถือในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ดังจะเห็นได้ในประเทศที่มีสัดส่วนของรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในยุโรป
โดยทั่วไปแล้วหัวชาร์จ (Charger) ประเภทหัวชาร์จแบบช้าจะมีจำนวนมากกว่าหัวชาร์จแบบเร็วเนื่องจากต้นทุนด้านราคาของหัวชาร์จ โครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้า และลักษณะการใช้งานจริง โดยหัวชาร์จแบบช้านั้นหมายรวมถึงการติดตั้งหัวชาร์จที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า หรือพื้นที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งในสถานีชาร์จ (Charging station) ด้วย ในขณะที่หัวชาร์จแบบเร็วที่มีสัดส่วนน้อยกว่าประมาณครึ่งหนึ่งนั้น เป็นอุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้าที่ติดตั้งที่สถานีชาร์จเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งราคา โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าและสถานที่ติดตั้ง
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : จำนวนจุดอัดไฟฟ้า (charging points) ของยานยนต์ไฟฟ้า รายประเทศ
โดยมีข้อกำหนดการใช้ข้อมูลดังนี้ : https://www.iea.org/terms/creative-commons-cc-licenses
จำนวนหัวชาร์จสาธารณะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเฉพาะในการเดินทางระยะไกลหรือสำหรับผู้ที่ไม่สามารถติดตั้งหัวชาร์จได้ที่บ้าน ข้อมูลจำนวนและตำแหน่งของสถานีประจุไฟฟ้าสาธารณะแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยได้มีผู้ให้บริการการชาร์จสาธารณะกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและมีการขยายตัวไปสู่พื้นที่ภูมิภาคต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
เครื่องมือช่วยคำนวณความคุ้มค่าของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle, BEV) อย่างง่ายช่วยเปรียบเทียบการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ากับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine, ICE) ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้พิจารณาความคุ้มค่าในการใช้รถยนต์ทั้งสองประเภทได้ โดยสามารถเลือกใส่ข้อมูลราคารถ ระยะทางวิ่งเฉลี่ยต่อปี ราคาเชื้อเพลิง (น้ำมันเบนซินหรือไฟฟ้า) ระยะเวลาการใช้งานรถ ค่าซ่อมบำรุงรถยนต์ ภาษีต่อทะเบียน และประกันภัยรถยนต์ ผลการวิเคราะห์จะแสดงเป็นต้นทุนรวมและแยกตามประเภทของค่าใช้จ่าย ต้นทุนเฉลี่ยต่อระยะทาง และต้นทุนเฉลี่ยต่อปีของการใช้รถยนต์แต่ละประเภท รวมทั้งปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก