คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : กำลังผลิตตามสัญญาในระบบไฟฟ้า
ดาวน์โหลดข้อมูล : การจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย
ดาวน์โหลดข้อมูล : การใช้ไฟฟ้าจำแนกตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า
โครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศไทยประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ ระบบผลิต ระบบส่ง ระบบจำหน่ายไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นรูปแบบ Enhanced Single Buyer Model (ESB)
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : การผลิตไฟฟ้าจำแนกตามชนิดเชื้อเพลิง
ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย การผลิตไฟฟ้าที่เหลือจะมาจากถ่านหิน (ทั้งถ่านหินนำเข้าและถ่านหินในประเทศ) พลังงานหมุนเวียน พลังงานน้ำ (ทั้งนำเข้าจากต่างประเทศ และพลังน้ำในประเทศ) และอื่นๆ เช่น น้ำมัน จากข้อมูลสัดส่วนเชื้อเพลิงจะเห็นว่าก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่มีสัดส่วนสูงสูดในการผลิตไฟฟ้า จึงส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าไฟฟ้า
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : ราคาขายปลีกไฟฟ้าและราคาก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าปัจจุบันมาจาก 3 แหล่งด้วยกัน ได้แก่ อ่าวไทย เมียนมา และนำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเป็นราคา pool gas ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ LNG ในการผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต ดังนั้น ราคา LNG ซึ่งมีการขึ้นลงของราคาตามกลไกตลาดโลก จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุของการขึ้นลงของอัตราค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ อัตราค่าไฟฟ้ายังขึ้นกับปัจจัยสำคัญอื่นๆ นอกจากราคาก๊าซธรรมชาติด้วย เช่น ต้นทุนการผลิต การส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า เป็นต้น
การขึ้นลงของอัตราค่าไฟฟ้าไม่ได้แปรผันกับการขึ้นลงของราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (pool gas) โดยตรง เนื่องจากการขึ้นลงของราคาค่าไฟฟ้า มีกลไกของภาครัฐในการบริหารอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่า Ft) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน โดยมีการพิจารณาร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
การบริหารจัดการค่าไฟฟ้าหรือการปรับค่า Ft ในสถานการณ์ปกตินี้พยายามให้สะท้อนต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เป็นจริง แต่หากปัจจัยที่มีผลต่ออัตราไฟฟฟ้ามีความผันผวนมาก เช่น ค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ความต้องการใช้ไฟฟ้า และอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น การปรับค่า Ft จะพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศและนโยบายของรัฐในขณะนั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบค่าใช้จ่ายของประชาชน
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : การใช้ไฟฟ้าจำแนกตาม Sector
ดาวน์โหลดข้อมูล : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในอนาคตการใช้พลังงานมีแนวโน้มจะเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (Electrification) มากขึ้น เช่น การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในภาคส่วนต่างๆ ซึ่งส่งผลให้แนวโน้มการใช้ไฟฟ้า ของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละภาคเศรษฐกิจในอนาคตเปลี่ยนแปลงไป
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : การใช้ไฟฟ้าจำแนกตาม Sector
ดาวน์โหลดข้อมูล : อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทย
อุณหภูมิเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลอย่างมากต่อค่าใช้จ่ายไฟฟ้า โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าของกลุ่มบ้านอยู่อาศัย ที่มักมีเครื่องทำความเย็นที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเมื่อสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูง เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เป็นต้น เครื่องทำความเย็นเหล่านี้ต้องใช้พลังงานมากกว่าเดิมเพื่อรักษาระดับความความเย็น ณ อุณหภูมิที่กำหนดไว้ จึงทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น แม้ว่าพฤติกรรมในการใช้อุปกรณ์ทำความเย็นเหล่านี้จะเหมือนเดิม
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : การผลิตไฟฟ้าจำแนกตามชนิดเชื้อเพลิง
ดาวน์โหลดข้อมูล : การปล่อย CO2 ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้า
การปล่อยก๊าซ CO2 ในภาคการผลิตไฟฟ้ามาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังหมุนเวียนไม่ปล่อยก๊าซดังกล่าว ทั้งนี้ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ตามสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ส่งผลให้การปล่อย CO2 ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มลดลง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://www.egat.co.th/home/egat-price
อัตราค่าไฟฟ้าโดยทั่วไปจะสะท้อนต้นทุนในการสร้าง จัดหาเงินทุน บำรุงรักษา และดำเนินการโรงไฟฟ้าและโครงข่ายไฟฟ้า (ซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อน) รวมทั้ง ผลตอบแทนของเจ้าของโรงไฟฟ้า สายส่ง สายจำหน่ายและหน่วยงานที่ดำเนินการและให้บริการ
สำหรับประเทศไทย อัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักด้วยกัน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟฟ้าผันแปร(ค่า Ft) ค่าบริการรายเดือน และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าไฟฐาน : สะท้อนต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบจำหน่าย และค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า ภายใต้สมมติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน และผลตอบแทน ณ วันที่กำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้า
ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) : ค่าไฟฟ้าที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปจากค่าไฟฟ้าฐาน ค่าใช้จ่ายตามนโยบาย (การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตามมาตรา 97(3) (4) (5)) เป็นต้น
ค่าบริการรายเดือน : ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายและการบริการผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือน ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการจัดหาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการจดหน่วยการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า การคำนวณเพื่อจัดทำและพิมพ์ใบแจ้งหนี้ส่งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า และการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า รวมถึงการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้า และการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : คิดในอัตราร้อยละ 7 ของค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft ซึ่งการไฟฟ้าจะเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อนำส่งให้กรมสรรพากรเป็นรายได้ของแผ่นดิน
การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้านั้น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดทำนโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้านำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบ จากนั้นคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะจัดทำโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าตามนโยบายที่กำหนด เพื่อประกาศใช้ และกำกับดูแลโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดยมีประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าหลัก ดังนี้
รวมทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ได้แก่ อัตราค่าไฟฟ้าสำรอง อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ และการใช้ไฟฟ้าที่ไม่คิดมูลค่า โดยมีรายละเอียดอัตราค่าไฟฟ้าตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าต่างๆ
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : การผลิตไฟฟ้าจำแนกตามชนิดเชื้อเพลิงของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : GDP, PPP ของประเทศต่างๆ
ดาวน์โหลดข้อมูล : จำนวนประชากรของประเทศต่างๆ
ดาวน์โหลดข้อมูล : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
การเปรียบเทียบความถูก-แพงของอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละประเทศที่เหมาะสมและเท่าเทียม ควรนำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเปรียบเทียบกับอำนาจซื้อ หรือ GDP at Purchasing Power Parity ต่อหัวประชากร (GDP PPP per capita) ซึ่งสะท้อนไปถึงสภาวะเศรษฐกิจและอำนาจซื้อของประชาชนในแต่ละประเทศ มาพิจารณาร่วมด้วย
นอกจากปัจจัยเรื่องประเภทของเชื้อเพลิงและต้นทุนเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าที่มีผลต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ยังมีปัจจัยเรื่องความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของระบบไฟฟ้า รวมทั้งความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า และเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า ที่ส่งผลต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันด้วย โดยจากการสำรวจคุณภาพการบริการไฟฟ้ากลุ่มอาเซียนของธนาคารโลก (Infrastructure in Asia and the Pacific, World Bank) พบว่าประเทศไทยมีดัชนีคุณภาพการบริการไฟฟ้าอยู่ในลำดับต้นๆ และดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศอาเซียนหลายเท่าตัว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีเสถียรภาพและคุณภาพของระบบไฟฟ้า
ทั้งนี้ อัตราค่าไฟฟ้าถือเป็นปัจจัยหนึ่งในการบ่งชี้ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างของอัตราค่าไฟฟ้าในภูมิภาคอาจส่งผลด้านลบต่อความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ดี ความสามารถในการแข่งขันยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ค่าแรง แรงงาน สภาพแวดล้อมการทำธุรกิจ ฯลฯ ด้วย
ค่าไฟฟ้าฐานจะมีการปรับทุก 3-5 ปี โดยจะพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการผลิต จัดส่ง และการจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และผลตอบแทนที่เหมาะสมในการขยายการลงทุนในอนาคต ทั้งนี้ 3 การไฟฟ้า (กฟผ. กฟน. และ กฟภ.) ถือเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ต้องนำส่งเงินรายได้แผ่นดินให้กับกระทรวงการคลัง เพื่อนำไปเป็นรายได้ของแผ่นดินสำหรับใช้ในการพัฒนาประเทศ
ค่า Ft จะมีการปรับทุก 4 เดือน โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะกำกับดูแลการคำนวณให้สะท้อนราคาค่าเชื้อเพลิง ตามแนวโน้มราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลกระทบต่อการนำเข้าน้ามันเชื้อเพลิง รวมถึงค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐในเรื่องการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เช่น การให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) หรือมาตรการ Feed-in Tariff (FiT) ตลอดจนเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้และจะพิจารณาถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมด้วยทุกครั้ง โดยการปรับค่า Ft ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อผลประกอบการ (กำไร/ขาดทุน) แต่อย่างใด
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : ค่า FT
สำหรับการใช้ไฟฟ้ากับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมทั้งวัด สำนักสงฆ์ และสถานประกอบศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ ธุรกิจรวมกับที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรืออื่นๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
ลักษณะการใช้สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 30 ถึง 999 กิโลวัตต์ และมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนไม่เกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือ มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือน เกินกว่า 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าขององค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการ โดยไม่คิดค่าตอบแทน รวมถึงสถานที่ ที่ใช้ในการประกอบศาสนกิจ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว แต่ไม่รวมถึงหน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ
ลักษณะการใช้สำหรับการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรที่ทางราชการรับรอง หรือสหกรณ์เพื่อการเกษตร โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าชั่วคราว เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารทั่วไปหรือสิ่งปลูกสร้าง การจัดงานขึ้นเป็นกรณีพิเศษชั่วคราว หรือการใช้ในกรณีต่างๆ เป็นการชั่วคราว โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
ลักษณะการใช้ไฟฟ้าสำรอง
กรณีที่ 1: สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเฉพาะที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเอง และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของตนเองเป็นหลัก แต่ต้องการไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อสำรองไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวขัดข้องหรือหยุดเพื่อซ่อมแซม และบำรุงรักษาตามแผนที่ ได้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไว้ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
กรณีที่ 2: สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเฉพาะที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองผลิตพลังงานไฟฟ้าร่วมกับพลังงานความร้อน(Cogeneration) และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองเป็นหลักแต่ต้องการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อสำรองไว้ใช้ทดแทนในกรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าว ขัดข้องหรือหยุดเพื่อซ่อมแซม และบำรุงรักษาตามแผนงานที่ได้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไว้ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ตามช่วงเวลาของการใช้ เป็นอัตราเลือกอีกประเภทหนึ่งที่ ใช้ควบคู่กับอัตราปกติ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดใหญ่ ที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าตั้งแต่ 5,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป และมีปริมาณพลังไฟฟ้า ที่ สามารถให้งดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Demand) เมื่อการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคร้องขอไม่น้อยกว่า 1,000 กิโลวัตต์
เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอาคารสำนักงานของการไฟฟ้า ไฟถนน ไฟสาธารณะ ทหารผ่านศึก และพื้นที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
แผน PDP ให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ได้แก่