รัฐบาลไทยยกเลิกการกำหนดราคาน้ำมันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศเป็นไปตามกลไกการค้าเสรี ซึ่งขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://www.eppo.go.th/epposite/index.php/th/
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทย รายชนิดน้ำมัน
ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าน้ำมัน ไม่มีอำนาจกำหนดราคาเหนือตลาด ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยจึงปรับขึ้น-ลงตามราคาตลาดโลกแต่ไม่ทั้งหมด ด้วย 2 ปัจจัย ดังนี้
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีการติดตามการใช้และเก็บเงินเข้ากองทุน รวมถึงติดตามค่าการตลาด เพื่อให้ราคาขายปลีกอยู่ในระดับที่เหมาะสม
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : ค่าการตลาดน้ำมันเบนซินและดีเซลของไทย
ใช้ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นตัวแทนราคาน้ำมันเบนซิน และราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล B7 เป็นตัวแทนราคาน้ำมันดีเซล เนื่องจากมีสัดส่วนการใช้สูงที่สุด
แม้ว่าราคาขายปลีกน้ำมันในไทยจะขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก แต่กระทรวงพลังงานก็มีการติดตามและดูแลความเหมาะสมของราคาให้มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยใช้เครื่องมือต่อไปนี้
ในภาวะราคาน้ำมันผันผวน ภาครัฐจะพิจารณา “ค่าการตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันในภาพรวม” (ไม่ใช่ค่าการตลาดรายผลิตภัณฑ์) ซึ่งหากสูงหรือต่ำกว่ากรอบที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กำหนด ภาครัฐอาจใช้กลไก กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มาช่วยบริหารจัดการราคา โดยในช่วงราคาน้ำมันขึ้น จะนำเงินจากกองทุนฯ มาพยุงราคาขายปลีกในประเทศ เพื่อมิให้ราคาเพิ่มสูงจนเกิดผลกระทบต่อประชาชน ตลอดจนต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการมากเกินไป และเมื่อราคาน้ำมันเข้าสู่ช่วงขาลง ก็จะเก็บเงินเข้ากองทุนฯ เพื่อเตรียมไว้ใช้สำหรับชดเชยราคาในช่วงขาขึ้นครั้งต่อไป
ในช่วงวิกฤติราคาน้ำมัน ภาครัฐโดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเอกชน และเมื่อสถานการณ์วิกฤติคลี่คลาย ก็จะกลับมาจัดเก็บภาษีตามอัตราปกติ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อรายได้แผ่นดินในการบริหารประเทศในระยะยาว
ในช่วงที่ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพอยู่ในระดับสูงจนส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันอย่างมาก กบง. จะพิจารณาปรับลดสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อมิให้ราคาขายปลีกน้ำมันสูงจนเกินไป และจะกลับมาใช้สัดส่วนการผสมปกติเมื่อสถานการณ์วิกฤติคลี่คลายลง
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทย รายชนิดน้ำมัน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กองทุนน้ำมัน :
https://www.offo.or.th/th/estimate/fuelfund-status
รายได้แผ่นดิน (ภาษีน้ำมัน) :
https://dataservices.mof.go.th/menu3?id=2
จากสองข้อนี้ กล่าวได้ว่าน้ำมันเป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายทั่วโลกได้อย่างเสรี ไม่มีข้อจำกัดด้านมาตรฐานและการค้าระหว่างประเทศ การซื้อขายน้ำมันในประเทศไทยรวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงต้องอ้างอิงราคา ณ ตลาดกลางซื้อขายน้ำมันของโลก เพราะหากประเทศกำหนดราคาเอง จะเกิดปัญหาสมดุลการผลิตและจัดหาตามมา
ตลาดซื้อขายน้ำมันที่สิงคโปร์จึงได้รับความนิยมจากผู้ซื้อผู้ขายในภูมิภาค และกลายเป็นตลาดกลางของภูมิภาค ซึ่งการที่มีผู้ซื้อผู้ขายจากทั่วเอเชียมาซื้อขายกัน ทำให้ยากต่อการแทรกแซงราคา ดังนั้น ราคา ณ ตลาดแห่งนี้จึงมีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตและผู้ค้าน้ำมัน สะท้อนสภาพตลาด และสภาวะอุปสงค์-อุปทานในภูมิภาคได้อย่างแท้จริง
จากที่เกริ่นไว้ว่าเราจำเป็นต้องอ้างอิงราคาน้ำมันจากตลาดกลางซื้อขายน้ำมันของโลก ซึ่งไทยเลือกอ้างอิงราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์ เพราะเป็นตลาดที่อยู่ใกล้ที่สุด ทำให้มีค่าขนส่งน้ำมันมายังไทยถูกที่สุด ซึ่งนั่นจะเป็นต้นทุนในการนำเข้าที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นน้ำมันในไทยต้องแข่งขันด้วย
นอกจากไทยแล้วประเทศอื่นๆ ในเอเชียก็อ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ในการเจรจาซื้อขายน้ำมันระหว่างประเทศ และใช้เป็นฐานในการคำนวณต้นทุนราคาภายในประเทศเช่นกัน
แม้ว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียจะอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์เหมือนกัน หากแต่ละประเทศมีการจัดหาน้ำมัน การเก็บภาษี การเก็บเงินเข้ากองทุนต่างๆ และการอุดหนุนราคาที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เช่น ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันอย่างมาเลเซียและบรูไน มีความสามารถในการจัดหาน้ำมันสูง ทำให้มีต้นทุนในการจัดหาต่ำกว่าประเทศอื่น อีกทั้งยังมีการอุดหนุนราคาและยกเว้นภาษี ทำให้ราคาขายปลีกต่ำกว่าประเทศอื่นๆ
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : ราคาขายปลีกน้ำมันของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
การเปรียบเทียบความถูก-แพงของราคาน้ำมันในแต่ละประเทศที่เหมาะสมและเท่าเทียม ควรนำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเปรียบเทียบกับอำนาจซื้อ หรือ GDP at Purchasing Power Parity ต่อหัวประชากร (GDP PPP per capita) ซึ่งสะท้อนไปถึงสภาวะเศรษฐกิจและอำนาจซื้อของประชาชนในแต่ละประเทศ มาพิจารณาร่วมด้วย
คลิกที่นี่เพื่อดูแหล่งข้อมูล
ดาวน์โหลดข้อมูล : ราคาขายปลีกน้ำมันของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ดาวน์โหลดข้อมูล : GDP, PPP ของประเทศต่างๆ
ดาวน์โหลดข้อมูล : จำนวนประชากรของประเทศต่างๆ
ดาวน์โหลดข้อมูล : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมัน ราคาที่จำหน่ายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน
ภาษีที่เก็บจากการจำหน่ายน้ำมันเป็นส่วนที่กระทรวงการคลังจัดเก็บเป็นรายได้ของรัฐ เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในการจำหน่ายน้ำมัน จะมีการเก็บเงินเพื่อนำเข้ากองทุนซึ่งประกอบด้วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบและราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดโลก ได้แก่