Page 931 - NEIC_FINAL REPORT
P. 931

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือน แผนพลังงานของประเทศไทย
(4) ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
รายงานฉบับสมบูรณ์
การเปิดเผยข้อมูล (Open Data) เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยส่งเสริมและนําไปสู่การเป็น ประเทศที่มีความเข้มแข็งและความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยอาศัยความสามารถ ของการเข้าถึง แหล่งข้อมูลความรู้หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมอย่างเปิดกว้าง ไร้ข้อจํากัด อีกทั้งการผลักดันให้นําข้อมูลไปใช้สร้างสรรค์อย่างไร้ขอบเขต และสามารถสร้างโอกาส และเป็นจุดเร่ิมต้นของการเกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเปิดเผย ข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลของภาครัฐเสมือนเป็นแหล่งทรัพยากรขนาดใหญ่ที่ยังไม่ได้ ถูกนํามาใช้ อย่างกว้างขวางทั้งในส่วนของบุคคลและองค์กร ปัจจุบันพบว่าหน่วยงานภาครัฐมีการเก็บรวบรวม ข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อที่จะดําเนินงานตามภารกิจ นอกจากนั้นแล้วหน่วยงานภาครัฐ ถือเป็นส่วนสําคัญในการผลิตและจัดเก็บข้อมูลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งข้อมูลภาครัฐส่วนใหญ่ เป็นข้อมูลสาธารณะโดยกฎหมายอยู่แล้ว ดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะเปิดเผยและทําให้ผู้อื่นสามารถ นําไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
จากพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ โดยมีศูนย์กลางข้อมูลเปิด ภาครัฐ (Government Open Data) ผ่านเว็บไซต์ data.go.th เพื่อสนับสนุนกระบวนการเปิดเผย ข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและตรวจสอบการดําเนินงานของรัฐได้โดยสะดวก และ สามารถนําข้อมูลไปพัฒนานวัตกรรมท่ีสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม สํานักงานพัฒนารัฐบาล ดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ข้อมูลศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเว็บไซต์ data.go.th โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันมีจํานวนชุดข้อมูลมากกว่า 2,000 ชุด ข้อมูล จากกว่า 150 หน่วยงาน
ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐนั้น ได้ดําเนินการโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพ่ือให้ผู้ใช้บริการท้ังภาค ประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ สามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของ ภาครัฐได้ง่าย โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลเกิดความร่วมมือของภาครัฐและ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยการดําเนินการของศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐนั้นสร้าง ประโยชน์ต่อทั้งผู้ให้และผู้ใช้ข้อมูล ทั้งในด้านของความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การปรับปรุง หรือ พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ การสร้างนวัตกรรม การปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ให้บริการของภาครัฐ และการเพิ่มมูลค่าให้กับหน่วยงานราชการเองโดย“ข้อมูลเปิด”นั้นนอกจากจะ ช่วยเพ่ิมประสิทธิภาพของการให้บริการแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการได้
ในปัจจุบันทาง สพร. มีแนวคิดในการปรับปรุงเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อให้มีความสามารถในการ บริการผู้ใช้งานแบบครบวงจรของการแนวทางการใช้ประโยชน์ข้อมูล โดยระบบที่มีการนําเทคโนโลยี สมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการดําเนินงานต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูล เทคโนโลยี การบริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น เพื่ออํานวยความสะดวกผู้ใช้งานข้อมูลทั้งภาครัฐ
7.3-17
Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์
7 - 137
 























































































   929   930   931   932   933