Page 917 - NEIC_FINAL REPORT
P. 917
โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อน แผนพลังงานของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มความร่วมมือ เพื่อการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ยังมีองค์กรระดับนานาชาติ ที่ได้ดําเนินการประเมิน และจัดอันดับการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐของประเทศต่าง ๆ เช่น Open Knowledge International ได้จัดทําดัชนีชี้วัดชื่อ Global Open Data Index สําหรับประเมินการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ในหลายด้าน เช่น กฎหมาย การพยากรณ์อากาศ การปล่อยมลพิษ ผลการเลือกตั้ง งบประมาณรายจ่ายของรัฐ การจดทะเบียนบริษัท เป็นต้น อีกองค์กรหนึ่งที่สํารวจการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐของประเทศต่าง ๆ คือ World Wide Web Foundation ได้จัดทําดัชนีชี้วัดชื่อ Open Data Barometer
ในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นผู้นําด้านรัฐบาลดิจิทัลของโลกต่างมีนโยบายหรือ แผนการดําเนินงานท่ีชัดเจนเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐด่านต่าง ๆ เพ่ือสร้างรัฐบาลแบบเปิด รวมทั้งสร้าง เว็บท่า (Portal Site) เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลเปิดของหน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง ในกรณีของสหรัฐอเมริกา ได้มีการดําเนินงานของรัฐบาลกลางเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างรัฐบาลที่โปร่งใส ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชน รวมทั้งการประสานงานกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ และภาคสังคม โดยเว็บท่าของ สหรัฐอเมริกาท่ีทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐคือ https://www.data.gov/ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559 มีชุดข้อมูลทั้งสิ้น 186,462 ชุดข้อมูล
ในสหราชอาณาจักรซึ่งได้อันดับ 1 ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากการจัดอันดับขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลได้ออกสมุดปกขาวว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ชื่อ “Open Data White Paper: Unleashing the Potential” เมื่อปี พ.ศ. 2555 วัตถุประสงค์สําคัญของการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐของ สหราชอาณาจักรคือการสร้างสังคมที่โปร่งใส และการสร้างความไว้วางใจที่ประชาชนและสังคมต่อรัฐบาล ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง ส่งเสริมให้สังคมนําข้อมูลที่เปิดเผย ไปใช้ประโยชน์ ท้ังด้านธุรกิจและด้านอื่นๆโดยมขี้อจํากัดน้อยที่สุดรวมท้ังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพและเว็บท่าของสหราชอาณาจักรคือ https://data.gov.uk/ ข้อมูลท่ีเปิดเผยจํานวน 36,285 ชุดข้อมูล ณ วันท่ี 15 กันยายน พ.ศ. 2559
กรณีประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้อันดับที่ 2 ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สํานักนายกรัฐมนตรีและ คณะรัฐมนตรี (Department of the Prime Minister and Cabinet) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐบาลออสเตรเลีย ได้ประกาศชัดเจนว่า “ข้อมูลเป็นสมบัติของชาติ (Data is a national asset.)” และต้องเปิดเผยข้อมูลทั่วไปให้สาธารณชนได้รับรู้และนําไปใช้ประโยชน์ โดยรัฐบาล ออสเตรเลียมุ่งมั่นที่จะเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สามารถนําไปประมวลผลต่อได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ถูกเปิดเผยต้องไม่กระทบความมั่นคง ปลอดภัย และสิทธิส่วนบุคคล รวมทั้งจะทํางาน ร่วมกับองค์กรอื่นในการสร้าง เก็บรวบรวม และใช้ประโยชน์จากข้อมูล เว็บท่าของรัฐบาลออสเตรเลียคือ http://data.gov.au/ มีชุดข้อมูลที่เปิดเผยจํานวน 23,169 ชุดข้อมูล ณ วันท่ี 15 กันยายน พ.ศ. 2559
7.3-3
Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์
7 - 123