Page 916 - NEIC_FINAL REPORT
P. 916

7 - 122
1. สามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานจํานวนมากและหลากหลาย
2. ทุกคนได้รับอนุญาตให้นําข้อมูลไปใช้ และใช้ซํา้ ได้ (Open-licenced)
3. ประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ได้ (Machine-readable) เพื่อสามารถนําไปวิเคราะห์
ต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. รวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายให้อยู่ในชุดข้อมูล (Dataset) เดียวกัน และสามารถนําไปวิเคราะห์
ด้วยเคร่ืองมืออิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย (Available in bulk)
5. ไม่เสียค่าใช้จ่าย (Free of charge) เพื่อให้ประชาชนไม่ว่าจะมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร
สามารถเข้าถึงได้โดยเสมอภาคกัน
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ขององค์การสหประชาชาติการรับรองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
เป็นมาตรการที่ 10 ของเป้าหมายที่ 16 คือการสร้างสังคมท่ีสงบสุขไม่แบ่งแยก การเข้าถึงความยุติธรรม ของประชาชน และการสร้างสถาบันทุกระดับที่มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบได้ และเป็นธรรม สําหรับประชาชน
อย่างไรก็ตามองค์การสหประชาชาติยังได้ระบุว่า การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐยังถือเป็นกุญแจสําคัญ ในการสนับสนุนการดําเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายอื่น ๆ ของการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ช่วยขจัด ความยากจน ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ จะช่วยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ยากจนเข้าถึงบริการของภาครัฐได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ และภาคประชาสังคม สร้างนวัตกรรม ช่วยเหลือคนยากจนได้ง่ายขึ้น รวมทั้งช่วยให้องค์กร สถาบัน สามารถวางแผนจัดสรรทรัพยากรเพื่อขจัดปัญหาความยากจนได้อย่างถูกต้องและแม่นยํา
ในระดับนานาชาติ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือเพื่อพยายามผลักดันแนวคิดการเปิดเผยข้อมูล ภาครัฐเพื่อนําไปสู่การเป็นรัฐบาลแบบเปิด คือ กลุ่มความร่วมมือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Partnership – OGP) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 มีประเทศสมาชิกร่วมก่อต้ัง 8 ประเทศ คือ บราซิล อินโดนีเซีย เม็กซิโก นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 70 ประเทศ (Open Government Partnership n.d.) ประเทศ สมาชิกหรือประเทศท่ีต้องการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มความร่วมมือนี้จะต้องถูกประเมินผล การเปิดเผยข้อมูล ภาครัฐ 4 ด้าน ประกอบด้วย
1. ความโปร่งใสด้านการคลัง (Fiscal Transparency)
2. การเข้าถึงข้อมูล (Access to Information)
3. การเปิดเผยข้อมูลด้านรายได้และสินทรัพย์ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ (Public Officials Asset
Disclosure)
4. การมสี ่วนร่วมของภาคประชาชน (Citizen Engagement)
7.3-2
Strategic Design and Development Study of the National Energy Information Center to Support National Energy Plan โครงการศึกษาการจัดทําาแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือนแผนพลังงานของประเทศไทย
โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อน แผนพลังงานของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์
 












































































   914   915   916   917   918