Page 823 - NEIC_FINAL REPORT
P. 823

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพ่ือรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือน แผนพลังงานของประเทศไทย
(4) กรมเช้ือเพลิงธรรมชาติ
รายงานฉบับสมบูรณ์
11 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ, “ภารกิจหลักของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ”, สืบค้น 20 ตุลาคาม 2562, https://dmf.go.th/public/list/data/index/menu/882.
7.1-29
11
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจัดตั้งขึ้นตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลตามพระราชบัญญัติ
  ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. 2545 มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดการจัดหาพลังงานด้วยการสํารวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิง
 ธรรมชาติในประเทศ บริหารจัดการการให้สัมปทานปิโตรเลียม ทั้งสัมปทานสํารวจและผลิต รวมถึงการเก็บรักษา
 ขนส่ง ขายและจําหน่าย รวมถึงการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดการจัดหาพลังงาน
 โดยการส่งเสริมและเร่งรัดการสํารวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศ จัดทําแผนการจัดหาเชื้อเพลิง
  ธรรมชาติเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ บริหารจัดการก๊าซธรรมชาติที่ถูกทําให้เหลว (Liquefied
Natural Gas) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติทางเลือก ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ถ่านหิน
  ที่นําเข้ามาเพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล และส่งเสริมความร่วมมือด้านการสํารวจและพัฒนา
แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น
รวมทั้งบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศปิโตรเลียม
  และเชื้อเพลิงธรรมชาติอื่น ๆ
  โดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กําหนดเก่ียวกับการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย
 โดยบัญญัติให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดจะสํารวจหรือผลิต จะต้องได้รับสัมปทาน ได้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือ
 ได้รับสัญญาจ้างบริการ และให้มีคณะกรรมการปิโตรเลียมทําหน้าที่ให้คําแนะนํารัฐมนตรีในการให้สัมปทาน
การต่อเวลา และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้สําหรับผู้รับสัมปทาน จะต้องเป็นบริษัท มีทุน เครื่องจักร
  เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญ เพียงพอที่จะสํารวจ ผลิต ขาย และจําหน่ายปิโตรเลียม โดยแบ่งเป็นสัมปทาน
 สํารวจปโิ ตรเลียม มีระยะเวลา 6 ปี และสัมปทานผลิตปิโตรเลียมมีระยะเวลา 20 ปี ลดลงจากกฎหมายฉบับเดิมที่ให้
ระยะเวลาสัมปทานผลิต 30 ปี โดยกรมเชื้อเพลิงเป็นผู้กําหนดเขตพื้นที่แปลงสํารวจ ทั้งยังกําหนดสิทธิหน้าที่
 ของผู้รับสัมปทานและการให้หลักประกันของรัฐ ทั้งนี้การทําสัญญาสัมปทานกําหนดให้มีการจ่ายค่าภาคหลวง
 ตอบแทนรัฐ ส่วนกรณีสัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือสัญญาจ้างบริการนั้น ให้มีการกําหนดแบบสัญญาขึ้นมีรายละเอียด
  กําหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างกันตามกฎกระทรวง
 ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 กําหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องรายงานผลการประกอบกิจการ ปิโตรเลียม แผนงานและงบประมาณประจําปีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีกําหนด โดยในระยะเวลาการผลิต กําหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องส่งรายงานประจําวันภายในเวลาสิบสามนาฬิกา
  Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์
7 - 29



































































   821   822   823   824   825