Page 817 - NEIC_FINAL REPORT
P. 817

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือน แผนพลังงานของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์
รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อเพลิงและน้ํา เช่น แก๊ส น้ํามัน ถ่านหิน เป็นต้น และข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ โดย การส่งแบบรายงานนั้นอาจกระทําโดยยื่นทางไปรษณีย์ ส่งโทรสาร หรือส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่แบบ ร.ง.9 ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการประกอบกิจการ และข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย หรือมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยการส่งแบบรายงานน้ันอาจกระทําโดยย่ืนทางไปรษณีย์ หรือส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้นโรงงานที่อยู่ภายใต้กฎกระทรวงฉบับนี้จึงต้องมีการรายงานข้อมูลไปยังสํานักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นระยะ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานจากเชื้อเพลิง ชนิดอื่นรวมอยู่ด้วย โดยหากเป็นโรงงานควบคุมตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ก็จะมีการรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานไปยังกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงานเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2534 ตราขึ้นเพื่อใช้แทนที่พระราชบัญญัติ การพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2496 โดยเปลี่ยนสํานักงานพลังงานแห่งชาติเป็นกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้กระทรวงพลังงาน โดยกําหนดอํานาจ หน้าที่ในด้านหนึ่งให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีหน้าที่ค้นคว้า พัฒนา เกี่ยวกับการผลิต แปรรูป ส่งและใช้พลังงาน รวมถึงการอนุรักษ์แหล่งพลังงาน และสร้างระบบการผลิต แปรรูป ระบบส่งและระบบใช้ พลังงาน รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริม ฝึกอมรม เผยแพร่ความรู้ ทั้งยังกําหนดอํานาจในด้านการกํากับดูแล โดยให้มีอํานาจกําหนดระเบียบและมาตรฐานเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการอนุรักษ์แหล่ง พลังงาน ตลอดจนควบคุมและกํากับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบและมาตรฐานน้ัน ตลอดจนกําหนดอัตราค่าตอบแทน สําหรับการใช้พลังงานท่ีดําเนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2534 กําหนดให้พลังงานควบคุม อยู่ในความควบคุมของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยห้ามผู้ใดผลิตหรือขยายการผลิต พลังงานควบคุม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และหากมี กฎหมายเฉพาะกําหนดการอนุญาตหรือได้สัมปทาน ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะนั้นด้วย ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกากําหนดพลังงานควบคุม พ.ศ. 2536 ได้กําหนดให้พลังงานไฟฟ้าซึ่งขนาดการผลิตรวม ของแต่ละแหล่งผลิตตั้งแต่ 200 กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไปเป็นพลังงานงานควบคุม ทั้งน้ีการขออนุญาตนั้นมี กําหนดครั้งละไม่เกิน 4 ปี โดยการยื่นแบบ พค. 2 ซึ่งกําหนดตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) ต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยผู้ขอรับใบอนุญาตอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ก็ได้ โดยในแบบคําขอจะให้กรอกรายละเอียดของเครื่องต้นกําลังท่ีใช้ในการผลิตพลังงานควบคุม วิธีการผลิต
7.1-23
 Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์
7 - 23

























































































   815   816   817   818   819