Page 628 - NEIC_FINAL REPORT
P. 628

5 - 24
3) ประมวลผลข้อมูลที่มีความหลากหลาย (Big Variety) เช่น จากเดิมที่ประมวลผลเฉพาะข้อมูลตัวเลข อาจจะต้อง สามารถประมวลผลข้อมูลรูปภาพและภาพเคลื่อนไหวได้เป็นต้น เช่น การตรวจสอบภาพการจราจรบนถนน เพื่อประมาณการใช้รถ ซึ่งอาจจะมีผลต่อความต้องการการใช้ไฟฟ้าของสถานีชาร์จไฟฟ้าสําหรับรถขับเคลื่อน ด้วยไฟฟ้าได้ เป็นต้น
เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลด้านพลังงานมีประสิทธิภาพ ที่ปรึกษาได้เสนอให้จัดทําระบบจัดเก็บข้อมูล สารสนเทศโดยใช้สถาปัตยกรรมด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Architecture) โดยเป็นระบบที่เก็บข้อมูลจาก ทุกหน่วยงานของกระทรวงพลังงานเพื่อรวบรวมให้อยู่ที่เดียว (Single Data) โดยให้หน่วยงานที่เป็นเจ้าของข้อมูล เป็นผู้นําเข้า และ/หรือตรวจสอบข้อมูลเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล และ ให้หน่วยงานอื่น ๆ สามารถ เข้าถึงข้อมูลได้ตามสิทธิ์ โดยระบบจะต้องสามารถรองรับภาระงานทั้งในทํางานประจําวัน งานเชิงวิเคราะห์ และการให้ข้อมูลต่อสาธารณชนได้ และจะต้องมีมาตรฐานการจัดการข้อมูลที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)
5.2.2 ระบบจัดเก็บข้อมูลพลังงานในปัจจุบัน (as-is)
จากการศึกษาระบบการจัดเก็บข้อมูลพลังงานในปัจจุบันของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงพลังงาน รวมถึง ของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) พบว่ามีการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะการประมวลผลทรานแซคชัน (Transactional Processing) โดยอาศัยการเก็บข้อมูลที่ต้องการประมวลผลในฐานข้อมูล (Database Base) โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บข้อมูลแยกถัง (Silo) กัน โดยในแต่ละงานก็จะมีถังข้อมูลของตัวเอง ไม่มีการกําหนด พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) หรือโครงสร้างข้อมูล (Data Schema) ที่เป็นมาตรฐานกลาง และเมื่อต้องการ เชื่อมโยงข้อมูล มักจะต้องไปทําในชั้นของโปรแกรมใช้งานต่าง ๆ ซึ่งทําให้เกิดปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด ซึ่งทําให้ไม่เห็นถึงความเช่ือมโยงของข้อมูลในระดับชั้นของการเก็บข้อมูล
ในภาพรวมของการจัดเก็บข้อมูลพลังงานในปัจจุบัน จะถูกจําแนกและจัดเก็บตามประเภทของพลังงาน และ ตามห่วงโซ่อุปทานพลังงาน (Energy Supply Chain) กล่าวคือ ในส่วนของการจัดเก็บตามประเภทของพลังงาน จะประกอบไปด้วย
• พลังงานไฟฟ้า (Electricity)
• ถ่านหิน (Coal)
• น้ํามันดิบและคอนเดนเสท (Oil)
5.2-2
Strategic Design and Development Study of the National Energy Information Center to Support National Energy Plan โครงการศึกษาการจัดทําาแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือนแผนพลังงานของประเทศไทย
โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อน แผนพลังงานของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์
 





















































































   626   627   628   629   630