Page 627 - NEIC_FINAL REPORT
P. 627

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพ่ือรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือน แผนพลังงานของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์
5.2 หลักการในการออกแบบพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลของศูนย์สารสนเทศพลังงานชาติโดยใช้ สถาปัตยกรรมด้านข้อมูลสารสนเทศ (Platform for Big Data Architecture)
5.2.1 ภาพรวมความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลพลังงาน
จากการศึกษา ทบทวน และ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการข้อมูลพลังงานของหน่วยงานต่าง ๆ ใน กระทรวงพลังงาน และในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีการใช้ข้อมูลด้านพลังงานทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ประจําวัน (Daily Operation) และการวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning) ทั้งในระดับหน่วยงานและระดับ กระทรวง โดยข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลนั้น มาจากทั้งข้อมูลที่หน่วยงานจัดเก็บเอง ข้อมูลที่หน่วยงานอื่นภายใต้ กระทรวงพลังงาน หรือหน่วยงานที่มีความร่วมมือจัดเก็บ รวมไปถึงข้อมูลภายนอกที่มีการแบ่งปันแบบสาธารณะ ซึ่งข้อจํากัดและปัญหาในภาพรวมของการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลด้านพลังงานในปัจจุบันอาจจะแบ่งได้เป็น สองประเด็นใหญ่ ๆ คือ การเก็บข้อมูลมีความซ้ําซ้อนเน่ืองจากมีหลายหน่วยงานท่ีทําการจัดเก็บข้อมูลเดียวกัน และ หลายหน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลแต่ไม่สามารถใช้ข้อมูลได้ เนื่องจากไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลหรือไม่ทราบว่า มีการจัดเก็บข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของข้อมูล ทั้งในด้านความถูกต้องของข้อมูล หรือในด้านความพร้อมใช้ของข้อมูล
ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ พบกว่าหลายหน่วยงานพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการทําการจัดเก็บข้อมูลเอง ซึ่งทําให้เกิดความซ้ําซ้อนของข้อมูล หรือการพยายามเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงาน ภายนอก ซึ่งหลายคร้ังก็ติดปัญหาท้ังทางด้านเทคนิคและข้อกฎหมาย ทําให้การเชื่อมโยงไม่สามารถทําได้ หรือทําได้ อย่างไม่มีประสิทธิภาพเป็นต้น
นอกจากปัญหาและข้อจํากัดในปัจจุบัน กระทรวงพลังงานยังต้องเผชิญความท้าทายในอนาคตที่ทําให้ ต้องมีระบบการจัดการข้อมูลด้านพลังงานที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เช่น ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนซึ่งมีความอ่อนไหวสูง หรือ การใช้งานรถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าซึ่งทําให้การคํานวณ การใช้พลังงานในรูปแบบเดิมทําได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งโดยภาพรวมอาจจะกล่าวได้ว่า กระทรวงพลังงาน ต้องการระบบประมวลผลท่ีสามารถ 1) ประมวลผลข้อมูลจํานวนมาก (Big Volume) ทั้งจากแหล่งข้อมูลดั้งเดิม หรือ ข้อมูลที่มีการจัดเก็บมาแบบอัตโนมัติ เช่น ผ่านระบบ IoT 2) ประมวลผลข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Big Velocity) เช่น จากเดิมที่ประมวลผลข้อมูลเดือนละครั้ง หรือ อย่างเร็วที่สุดคือวันละครั้ง อาจจะต้องสามารถ ประมวลผลในระดับวินาที ในลักษณะของการประมวลผลใกล้เคียงเวลาจริง (Near Real Time) ได้
5.2-1
5 - 23
 Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์
























































































   625   626   627   628   629