Page 696 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 696
สรุปผลการดําเนินงาน
- โครงการจัดทําระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อขับเคลื่อนแผน EEP และ AEDP และ การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลภาคประชาชนและแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายของ อาคารควบคุมและโรงงานควบคุม (กลุ่มที่ 1 การศึกษาการจัดทําระบบข้อมูลขนาดใหญ่ ( Big Data)) เริ่มดําเนินงานตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2562 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 บัดนี้ได้ดําเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยการดําเนินงานนั้นครอบคลุมเน้ือหาดังนี้
1 งานด้านการศึกษาและออกแบบการจัดการข้อมูล (Data Management)
- การศึกษาออกแบบระบบการจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทํางานของการจัดการข้อมูล เร่ิมด้วยการศึกษากระบวนการทํางาน การไหลของข้อมูล และระบบทวนสอบข้อมูลของกองงานต่าง ๆ ใน พพ. เพื่อวิเคราะห์ถึงความต้องการ (Requirements) ด้านการใช้ข้อมูลและการจัดทํารายงาน ซ่ึงที่ปรึกษาเสนอแนะ การออกแบบโครงสร้างข้อมูล Meta data และ Informatics ในรูปแบบของ Star Schemas ให้มีความยืดหยุ่น สามารถหมุนมิติได้ เหมาะแก่การนํามาใช้กับเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล
- ที่ปรึกษานําเสนอการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูล Enterprise Data Architecture ในอนาคตของ พพ. เพื่อสนับสนุนการทํางานในรูปแบบ Big Data ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากหลาย หน่วยงานเพื่อนําสู่ Data Warehouse กลางในการรวบรวมข้อมูล มีระบบทวนสอบข้อมูลเพื่อตรวจสอบความ ถูกต้องให้ข้อมูลมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ การนําเข้าข้อมูลเน้นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการใช้ e-Forms APIs หรือการโหลดข้อมูลไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ผ่าน APIs หรือ protocols ต่าง ๆ และมีการทํา ETL ก่อนนําเข้าข้อมูล ซ่ึงจะได้สถาปัตยกรรมข้อมูลของกรมฯ
- ด้านการทวนสอบข้อมูล Quality Assurance ที่ปรึกษาใช้กรอบแนวคิดของการประกัน คุณภาพข้อมูล (Data Quality Assurance Framework) เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลมีความมั่นใจว่าข้อมูลในองค์กร ที่จะนําไปใช้มีคุณภาพสูง จะประกอบไปด้วยกระบวนการ 6 ขั้นตอน คือ (1) ระบุรายละเอียดของการประกัน คุณภาพข้อมูลให้ชัดเจน (Definition) (2) ประเมินคุณภาพของข้อมูล (Assessment) (3) วิเคราะห์คุณภาพของข้อมูล (Analysis) (4) ออกแบบวางแผนการประกันคุณภาพ (Improvement) (5) วางระบบการประกันคุณภาพของข้อมูล (Implementation) และ (6) ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล (Control)
-
1.
จากกรอบดังกล่าว ที่ปรึกษาเสนอให้มีระบบทวนสอบข้อมูล ดังน้ี
ระบบทวนสอบข้อมูลของฐานข้อมูลกองกํากับและอนุรักษ์พลังงาน (กกอ.) ที่นําเข้าข้อมูล ผ่าน e-Form ที่มีการตรวจสอบข้อมูลอัตโนมัติตามเกณฑ์ 10 กลุ่ม 22 เกณฑ์ เป็นการตรวจสอบ ข้อมูลแบบ Semi-real time ช่วยลดเวลาในการตรวจสอบ แล้วใช้การวิเคราะห์แบบอนุกรมเวลา (Time Series) โดยใช้ข้อมูลรายเดือนเป็นตัวเปรียบเทียบแทนข้อมูลรายปีซ่ึงจะได้ความละเอียดท่ี แม่นยํายิ่งขึ้น รวมทั้งการตรวจสอบแนวโน้มในระยะยาว (Long-term Trend) และความผันแปร ตามฤดูกาล (Seasonal Variation) สําหรับการวิเคราะห์ความผิดปกติของข้อมูลอีกช้ันหน่ึง
3/9/63 - 15