Page 694 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 694
• กําหนดรูปแบบของชุดข้อมูลของข้อมูลเปิดภาครัฐ อย่างน้อยให้อยู่ในรูปแบบ คุณลักษณะแบบเปิด และจัดทําคําอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลเพื่อให้ทราบรายละเอียด ของชุดข้อมูล
• ให้จัดส่งหรือเชื่อมโยงชุดข้อมูลของข้อมูลเปิดภาครัฐตามประเภทรูปแบบและ มาตรฐานของข้อมูลท่ีเปิดเผยแก่ประชาชน ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด
- ปัจจุบันทางศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th) ได้มีการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ด้านพลังงานจากหลายหน่วยงาน ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2563 มีจํานวน 119 ชุดข้อมูล จาก 6 หน่วยงาน และรูปแบบข้อมูลต้ังแต่ 1-3 ดาว สําหรับด้านพลังงานแล้ว ชุดข้อมูลส่วนใหญ่ จะอยู่ในกลุ่มชุดข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความเห็นและข้อสังเกตุของคณะทํางานศึกษาฯ
คณะทํางานศึกษามีข้อสังเกตุว่า จํานวนบุคลาการที่ระบุในรายงานมาได้อย่างไร และให้ข้อสังเกตุว่ามี Data Engineer หลายคนแต่ยังไม่ระบุถึงผู้ที่จะจัดทํา Meta data ในระยะที่ 1 และเหตุใดจึงต้องใช้บุคลากร จํานวนมาก
ที่ปรึกษา แจ้งว่าโครงสร้างนั้นยึดตามจํานวนบุคลากรภายใน สนพ. ปัจจุบันเป็นหลัก ซึ่งในกระบวนการ ทํางานจริงจําเป็นต้องเสริมด้วยที่ปรึกษาจากภายนอก และเนื่องด้วยข้อมูลพลังงานนั้นมีหลายด้าน มีความรู้ เฉพาะทาง หากทําตามกลยุทธ์ของศูนย์ให้เจ้าหน้าที่สามารถทํางานแทนกันได้ก็ไม่มีความจําเป็นที่ต้องใช้ บุคลากรมาก
ผู้อํานวยการอาวุโส กลุ่มงานดาต้าอนาไลติกส์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่าจํานวนบุคลากรนั้น สามารถแบ่งจ้างได้เป็นระยะตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งเหตุที่ต้องใช้คนจํานวนมากเป็นเพราะรูปแบบข้อมูล เช่น ธปท. มีเจ้าหน้าที่นําเข้าข้อมูล 60 คน เพราะรูปแบบข้อมูลไม่สามารถใช้ระบบได้ หากไม่สามารถจ้างท่ีปรึกษาภายนอกได้ เจ้าหน้าที่ปจั จุบันก็ต้องมีความสามารถในการทํางานเอง ซ่ึงสํานักงานสถิติแห่งชาติได้รับมอบหมายให้ดูแลการออกแบบ รวบรวม Meta data ของหน่วยงานรัฐทุกแห่ง ซ่ึงจะเข้ามาช่วยในตรงน้ีได้
ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักปลัด หากปฏิบัติตาม process ที่เสนอ โดยจัดทําธรรมาภิบาลข้อมูลก่อน เกรงว่าจะช้าไปในการจัดทํา meta data และควรเร่ิมทําจาก schema ก่อน โดยไม่ต้องรอ meta data ให้เรียบร้อย และรูปแบบของข้อมูลที่มีท้ัง structure non-structure และ กระดาษ จะจัดเก็บอย่างไร และการทํา Data Governance น้ันจะเริ่มอย่างไร
3/9/63 - 13