Page 642 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 642

 กรรมการบริหารสํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่าเป็นห่วงเรื่อง data structure ในทางปฏิบัติน้ันเป็นไปได้ยาก เสนอแนะว่าควรทําเป็น data transformation ก่อนนําเข้า storage ของศูนย์
ผู้อํานวยการอาวุโส กลุ่มงานดาต้าอนาไลติกส์ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ ธปท. ได้รับมาจากหลายที่ จึงทําเป็น organize data dictionary ใหม่ของ BOT เอง เพราะ ไม่สามารถจัดการผู้ให้ข้อมูลได้เอง ซ่ึงใช้เวลาหลายปี
- ที่ปรึกษาชี้แจงว่าตามท่ีออกแบบน้ันเป็นตามคําแนะนําของคณะทํางานท่ีกล่าวมาและจะมีการทํา ETL เพ่ือนําเข้าข้อมูล
ที่ปรึกษารับข้อสังเกต เพื่อทบทวนข้อมูลและแก้ไขรายงานต่อไป
มติท่ีประชุม รับข้อสังเกต
วาระที่ 3.2 รายงานความก้าวหน้าฉบับที่ 3 โครงการจัดทําระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อขับเคลื่อนแผน EEP และ AEDP และการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลภาคประชาชนและ แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม (กลุ่มที่ 1 การศึกษาการจัดทําระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data))
ท่ีปรึกษากล่าวสรปุ รายงานความก้าวหน้าฉบับท่ี3ครอบคลุมงานตามTORข้อ4.4-4.5ประกอบด้วย
• ส่วนที่ 1 การวางระบบทวนสอบข้อมูล (Quality Assurance) (TOR 4.4)
การจัดการคุณภาพของข้อมูล (Data Quality Management) ที่ปรึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับปฏิบัติการซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านความครบถ้วนของข้อมูล ความเรียบร้อยของข้อมูล ความสอดคล้องกัน ของข้อมูล และความถูกต้องของข้อมูล และระดับนโยบาย ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านความสามารถ ในการตรวจสอบข้อมูล ความไม่ซ้ําซ้อนของข้อมูล และ ความทันสมัยของข้อมูล
ในการออกแบบระบบทวนสอบนี้ ที่ปรึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วนงาน คือ - ระบบทวนสอบข้อมูลภายใน พพ. ซึ่ง เสนอแนะให้
o กองกํากับและอนุรักษ์พลังงาน (กกอ.) ที่เก็บฐานข้อมูลโรงงานและอาคารควบคุม ตามกฎหมายใช้การทวนสอบผ่านระบบ e-Form ที่มีการปรับปรุงให้ใช้เกณฑ์การ ตรวจสอบ 10 กลุ่ม 22 เกณฑ์ เพื่อทํา Basic Validation, Cross Validation และ Complex Validation และตรวจสอบความผิดปกติของข้อมูลด้วยค่าข้อมูลรายเดือน เพ่ือให้สามารถตรวจจับความผันแปรตามฤดูกาล และ ความสัมพันธ์กับข้อมูลอ่ืนได้
      14/5/63 - 13























































































   640   641   642   643   644