Page 924 - NEIC_FINAL REPORT
P. 924

7 - 130
เมื่อพิจารณาคุณลักษณะของข้อมูลเปิดแล้ว หน่วยงานของรัฐต้องประเมินความพร้อมของ การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ โดยกําหนดการวัดระดับการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อประเมินและ พัฒนาการดําเนินงานให้ดีย่ิงข้ึน โดยหน่วยงานของรัฐสามารถนําตัวอย่างของการวัดระดับการเปิดเผย ข้อมูลเปิดภาครัฐที่ระบุนี้มาปรับใช้ซึ่งเป็นการวัดผลของกิจกรรมที่มีความสําคัญต่อการเปิดเผยข้อมูล เปิดภาครัฐ เช่น มีการเตรียมการเปิดเผยชุดข้อมูลอย่างไร มีวิธีการสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลที่เปิดเผย อย่างไร มีการกําหนดชุดข้อมูลเปิดที่มีคุณค่าอย่างไร โดยความสําคัญของระดับการวัดนี้ไม่ใช่อุปสรรค ในการเปิดเผยหรือใช้ข้อมูล เช่น หากได้คะแนนการวัดด้านการเตรียมการเปิดเผยข้อมูลเปิด ในระดับต่ําไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานจะไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากการวัดระดับนี้ จะสะท้อนถึงแผนหรือแนวทางของการพัฒนาเพื่อการเปิดเผยข้อมูลเปิดของหน่วยงาน โดยการระบุ รายการว่าจะต้องดําเนินการอะไรบ้างให้สมบูรณ์ก่อนเข้าสู่กระบวนการเปิดเผยข้อมูลเปิดต่อไป ซึ่งการ วัดระดับประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลักได้แก่ การบริหารจัดการข้อมูลเปิด การสร้างองค์ความรู้และ ทักษะ การสนับสนุนและส่งเสริมการนําข้อมูลไปใช้ งบประมาณ และการกําหนดกลยุทธ์ โดยมี รายละเอียดดังนี้
• การบริหารจัดการข้อมูลเปิดหมายถึงการกําหนดกระบวนการหลักเพื่อใช้ในการบริหาร จัดการและเปิดเผยข้อมูลที่มีการควบคุมคุณภาพของข้อมูลเปิด ขั้นตอนการเปิดเผย ข้อมูลเปิด และการนํามาตรฐานสากลมาปรับใช้
• การสร้างองค์ความรู้และทักษะ หมายถึง การกําหนดกิจกรรมท่ีจําเป็นต่อการสร้าง วัฒนธรรมของการเปิดเผยข้อมูลเปิดในองค์กร รวมถึงการอบรมและการพัฒนาทักษะ ท่ีจําเป็นของบุคลากร เช่น การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การฝึกอบรม การศึกษาและทําความเข้าใจถึงประโยชน์ของข้อมูลเปิด
• การสนับสนุนและส่งเสริมการนําข้อมูลไปใช้หมายถึงการกําหนดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ข้อมูลในการนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการรับทราบ ความต้องการของทั้งผู้ใช้ข้อมูลและหน่วยงานของรัฐผ่านช่องทางต่าง ๆ
• งบประมาณหมายถึงการกําหนดค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้ ข้อมูลเปิด โดยหน่วยงานต้องทราบถึงชุดข้อมูลท่ีมีคุณค่าของหน่วยงานของรัฐ และมีการ กําหนดงบประมาณสําหรับการเปิดเผยข้อมูลเปิดที่เหมาะสม เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และค่าใช้จ่ายด้านการดําเนินการ รวมทั้งมีการติดตามประเมินประสิทธิภาพ การลดต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการนําข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์
7.3-10
Strategic Design and Development Study of the National Energy Information Center to Support National Energy Plan โครงการศึกษาการจัดทําาแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือนแผนพลังงานของประเทศไทย
โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือน แผนพลังงานของประเทศไทย
(2) การประเมินความพร้อมของการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ
รายงานฉบับสมบูรณ์
 























































































   922   923   924   925   926