Page 808 - NEIC_FINAL REPORT
P. 808

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพ่ือรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อน แผนพลังงานของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์
บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับการธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มีสถานะทางกฎหมายเช่นเดียวกัน การทําธุรกรรมแบบปกติที่มีการทําเป็นหนังสือ ตลอดจนรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้เสมอกับการทําหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการรับฟังข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน โดยพระราชบัญญัติกําหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทําหน้าที่วางนโยบายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งนี้พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ใช้บังคับการทําธุรกรรมทุกประเภท ยกเว้นธุรกรรมที่เกี่ยวกับ ครอบครัว และธุรกรรมที่เกี่ยวกับมรดก7
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีสาระสําคัญคือ รับรองสถานะ ทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมาย ของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความน้ันอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนให้ถือว่าการจัดทําข้อความ ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เป็นการทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงตามที่ กฎหมายกําหนด แล้วหากเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมาย ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังรับรองการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้วิธีการตามที่กฎหมายกําหนดมีผล ทางกฎหมายเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อ ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ สามารถระบุตัวตนของ เจ้าของลายมือชื่อได้ และการลงลายมือชื่อนั้นสามารถแสดงถึงการแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อได้จริง ส่วนในทางการพิจารณาคดีแพ่ง คดีอาญาและคดีอื่น ๆ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้รับการรับรองให้รับฟัง เป็นพยานหลักฐานได้ โดยการชั่งน้ําหนักพยานขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของข้อมูลนั้น ๆ แต่ศาลจะปฏิเสธไม่รับฟัง เพราะเหตุเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้
สําหรับการทําธุรกรรมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 รับรองการทําคําเสนอและคําสนองในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงบัญญัติให้การเสนอเพื่อทํา สัญญาผ่านการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ครั้งเดียวหรือหลายคร้ัง ซ่ึงไม่ได้ส่งถึงบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่ บุคคลทั่วไปที่ใช้ระบบข้อมูลนั้นสามารถเข้าถึงได้ หรือการเสนอโดยให้ระบบข้อมูลสามารถโต้ตอบได้โดยอัตโนมัติ ให้ถือเป็นคําเชิญชวนเพื่อทําคําเสนอ และห้ามมิให้ปฏิเสธสัญญาที่เกิดจากระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ
7 พระราชกฤษฎีกากําหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้นมิให้นํากฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้บังคับ พ.ศ. 2549 ประกอบ มาตรา 3 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
7.1-14
Strategic Design and Development Study of the National Energy Information Center to Support National Energy Plan โครงการศึกษาการจัดทําาแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือนแผนพลังงานของประเทศไทย
(6) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  7 - 14

























































































   806   807   808   809   810