Page 687 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 687

 3) ที่ปรึกษาใช้หลักการของ TOGAF Framework เป็นกรอบแนวคิดของสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) ด้วยว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรน้ัน จะต้องมีความครบถ้วน จากทั้งมุมมองของการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ฯ แบบดั้งเดิม และมุมมองของสถาปัตยกรรมองค์กร ซึ่ง TOGAF จะพิจารณาให้ความสําคัญกับสถาปัตยกรรมย่อย 3องค์ประกอบหลักทํางาน ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิผล ได้แก่ ด้านธุรกิจ ด้านข้อมูลสารสนเทศ และด้านเทคโนโลยี
2. การออกแบบสถาปัตยกรรมทางธุรกิจ(BusinessLayer)
1) การปรับเปลี่ยนและขยายการดําเนินงานของศูนย์ฯให้สามารถรองรับพันธกิจของศูนย์ฯโดย
• การเพิ่มขึ้นของรายละเอียดข้อมูลเช่นจากการใช้ข้อมูลนําเข้าในลักษณะรายเดือน เปลี่ยนเป็นการนําเข้าข้อมูลในรายวัน
• การเพิ่มขึ้นของชุดฐานข้อมูลที่ทําให้ศูนย์ฯสามารถทํางานตามพันธกิจได้อย่าง มีประสิทธิผลมากขึ้น เช่น การนําเข้าข้อมูลจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับจํานวนรถยนต์ บนท้องถนน หรือข้อมูลจากสมาร์ทมิเตอร์ต่าง ๆ
• การประมวลผลข้อมูลในลักษณะข้อมูลขนาดใหญ่(BigData)ทั้งในลักษณะแบทช์ (Batch) และลักษณะออนไลน์ (On-line)
2) ด้านโครงสร้างองค์กรของศูนย์ฯ น้ัน ที่ปรึกษานําเสนอร่างรูปแบบโครงสร้างองค์กรของศูนย์ฯ ซ่ึงจะมีบุคลากรทั้งส้ิน 53 คน แบ่งเป็น 4 ฝ่ายงาน ดังภาพ
โครงสร้างบุคคลากรจะมีการจัดตั้ง (1) กลุ่มงานกลยุทธ์ข้อมูล และ (2) กลุ่มงานวิศวกรรมข้อมูลและ กลุ่มงานบูรณาการข้อมูล และ (3) กลุ่มงานจัดการระบบสารสนเทศ
ที่ปรึกษาดําเนินการวิเคราะห์และออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรของศูนย์ฯ เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะใช้ ในการกําหนดทิศทางการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยระดับชั้น คือ สถาปัตยกรรมทางธุรกิจ (Business Layer), สถาปัตยกรรมข้อมูลองค์กร (Data Platform) และ สถาปัตยกรรม ทางโครงสร้างพ้ืนฐาน (Technology Layer)
3) ด้านกระบวนการทํางานที่ปรึกษาพบว่าในปัจจุบันกองงานต่างๆภายในสนพ.ประสบปัญหา การนําเข้าข้อมูลมาใช้ในงาน โดยปัญหาและอุปสรรคท่ีพบจะครอบคลุมตลอดกระบวนการทํางาน ตั้งแต่ ระบบ (System) การปฏิบัติ (Operation) การวิเคราะห์ (Analytic) โดยสรุปดังน้ี
    3/9/63 - 6
























































































   685   686   687   688   689