Page 639 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 639

 • ส่วนที่ 5 การสํารวจ วิเคราะห์กระบวนงานตามหลักการสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) และ การออกแบบ & โครงสร้างและแผนพัฒนาบุคลากร (TOR ข้อ 3.8 (1))
ที่ปรึกษากล่าวอธิบายหลักการในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) โดยยึดกรอบ TOGAF ซึ่งพัฒนาโดย The Open Group (www.opengroup.org) ที่มีจุดเด่นที่มีการระบุเฟสในการดําเนินการ ที่ชัดเจน รัดกุม โดยแต่ละเฟสจะมีการระบุข้อมูลนําเข้า ส่ิงที่จะได้รับ และแนวทางที่เป็นไปได้ในการดําเนินงาน ซ่ึงองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนได้เองตามบริบทขององค์กร ท่ีประกอบด้วย 9 เฟส คือ
P. เฟสเริ่มต้น (Preliminary Phase)
A. เฟสวิสัยทัศน์ของสถาปัตยกรรม (Architecture Vision Phase)
B. เฟสสถาปัตยกรรมทางธุรกิจ (Business Architecture Phase)
C. เฟสสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศ (Information System Architecture Phase)
D. เฟสสถาปัตยกรรมเทคโนโลยี (Technology Architecture Phase)
E. เฟสประเมินโอกาสและวิธีการดําเนินการ (Opportunities & Solution Phase)
F. เฟสการวางแผนการโยกย้ายสถาปัตยกรรม (Migration Planning Phase)
G. เฟสการปกครองการดําเนินการ (Implementation Governance Phase)
H. เฟสการจัดการความเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม (Architecture Change Management Phase)
ในกรณีของ สนพ. นี้คือ การปรับเปลี่ยน ขยาย และดําเนินงานตามพันธกิจของศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการส่ือสาร รวมถึงพันธกิจอ่ืน ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ อย่างเป็นรูปธรรมโดยใช้หลักการสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อเพิ่มขึ้นของรายละเอียดข้อมูล ชุดฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์ และ ออนไลน์ และระบุถึงหลักการและวิสัยทัศน์ของสถาปัตยกรรมองค์กร
ที่ปรึกษานําเสนอผลการศึกษากระบวนการทางธุรกิจปัจจุบัน และนําเสนอกระบวนการทํางานใหม่ 8 หมวดกระบวนการทํางานหลัก (Core Process) คือ ส่วนที่ 1 การรักษา 5 หมวดกระบวนการทํางานหลัก ประกอบด้วย งานประมวลผลข้อมูลสถิติพลังงาน งานวิเคราะห์พัฒนาแบบจําลอง งานพัฒนาระบบเชื่อมโยง ข้อมูล งานเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ และงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่วนที่ 2 การปรับเปลี่ยน 1 หมวดกระบวนการทํางานหลัก คือ งานสรรหา รวบรวมและรับส่งข้อมูล ส่วนที่ 3 การพัฒนา 2 กระบวนการ ทํางานหลัก คือ งานสรรหา รวบรวม รับส่งข้อมูล และ งานเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ และ เมื่อนํา สถาปัตยกรรมทางธุรกิจซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการข้อมูล สารสนเทศ การวิเคราะห์หรือพยากรณ์ ไปเทียบกับแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี สามารถสรุปสิ่งที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม คือ การกําหนดกลยุทธ์ นโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านข้อมูล การกํากับ ควบคุม การจํากัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล การรวบรวม Data catalog และพัฒนาข้อมูล อีกท้ังการพัฒนาเทคนิคการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูล
ด้านโครงสร้างและแผนพัฒนาบุคลากร ที่ปรึกษาได้นําเสนอโครงสร้างบุคลากรศูนย์ฯ ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายระบบสารสนเทศ (Information System) ฝ่ายกลยุทธ์ข้อมูลองค์กร (Enterprise Data Strategy) ฝ่ายการบริหารงานข้อมูล (Data Operation Management) ฝ่ายวิเคราะห์ธุรกิจและข้อมูล (Business and Data Analytics) รวมไปถึง ฝ่ายสนับสนุนซึ่งครอบคลุมฝ่ายการเงิน งบประมาณ การคลัง บริหารบุคลากร และบริหารท่ัวไป
   14/5/63 - 10




















































































   637   638   639   640   641