Page 597 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 597
และยังขาดข้อมูลอะไรบ้างท่ีต้องจัดเก็บเพิ่มเติม เบื้องต้นอาจจะเป็นเพียงการแชร์ข้อมูลกันก่อน ส่วนข้อมูล ในอนาคตที่ต้องการนั้น ที่ปรึกษาได้ทําการวิเคราะห์ไว้ในหัวข้อ 2.1.8 ทั้งทิศทางพลังงานของประเทศและ ทิศทางพลังงานโลก เช่น การใช้รถ EV การใช้พลังงานหมุนเวียน และถ่านหิน ก๊าซ และน้ํามันจะมี ทิศทางการใช้งานที่ลดลง จึงต้องให้ความสําคัญเรื่องการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียน เส้นทางท่ี 2 ได้ดูเรื่อง Bench Marking ที่ปรึกษาจะไปศึกษาดูหน่วยงานท่ีน่าเชื่อถือว่าในเร่ืองของพลังงาน เขาเก็บข้อมูลอะไร อ้างอิงการเก็บข้อมูลของหน่วยงานอื่น เช่น EIA ศึกษาการเก็บข้อมูลจากหน้าเวปไซด์ ว่าเก็บข้อมูลอย่างไร รีพอตอย่างไร เป็นต้น มีอะไรที่เขาทําแล้วยังต้องศึกษาเพิ่มเติมบ้าง หรือ บริษัทน้ํามัน ระดับโลก บางส่วนจะศึกษาข้อมูลจากการเก็บข้อมูลหน่วยงานภายในกระทรวงเอง บางส่วนก็ดูจากนอก กระทรวงเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี และเส้นทางที่ 3 ดูจากการใช้งานผู้ใช้ หรือ user ซึ่งเขาจะบอกได้เอง ว่าเขาต้องการอะไร เพราะเป็นผู้ใช้งานระบบว่าต้องการข้อมูลอะไร ทั้งหน่วยงานภายใน และภายนอก กระทรวง ซ่ึงจะได้เส้นทางการจัดทํา gap โดยทางที่ปรึกษาได้จัดทําเป็นแบบตาราง business process ซึ่ง เป็นส่วนสําคัญที่ทําให้ไม่ตกแผน process และจะมีคอลัมภ์ที่เป็น activities พลังงานนี้อยู่ในหมวดใด นําเข้าหรือส่งออก จากหน่วยงานใดและจะทําการระบุว่าข้อมูลน้ีมีความจําเป็นไหม ใน general concept เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลถัดไปจะเป็นส่วนของศูนย์ สนพ. จะต้องมีการจัดเก็บหรือไม่ ส่วนต่างที่เป็น gap จะนําไปใส่ใน big data และจะทําในทุกกลุ่มพลังงาน
- ในส่วนของ priority ของงาน จะมีการแบ่งไว้ว่าส่วนไหนสําคัญต้องดําเนินการก่อน ซึ่งมีแสดงไว้แต่จะนํามา จัดลําดับความสําคัญไว้ในช่วงถัดไป ทั้งยังจะไปศึกษาดูในเรื่องของข้อกฎหมายที่เป็นข้อบังคับในการส่ง ข้อมูลหรือไม่
- ตารางแยก gap จะเป็นการแยกการจัดเก็บข้อมูลใหม่ และแยกเก็บข้อมูลที่เก็บอยู่แล้วแต่ยังไม่ครบถ้วน ซึ่งต้องดูรายละเอียดอีกในส่วนของการจัดเก็บของ สนพ.
- Data flow จะเห็นความชัดเจนในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลว่าส่วนใดยังขาดหายไป เมื่อศึกษาข้อมูลไปใน หลายส่วน จะเห็น gap ของข้อมูล แล้วย้อนกลับไปดูตารางเดิมที่ได้ทําไว้ ถ้าข้อมูลไม่ตรงต้องแก้ให้ตรงเพื่อ จะให้ได้ข้อมูลท่ีสอดคล้องกัน
- Load profile ยังไม่มีการจัดเก็บที่เป็นระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่สําคัญมากสําหรับ สนพ. ท้ังเรื่องการจัดเก็บและ การแปรรูปยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลเช่นเดียวกัน peak demand ก็ต้องมีการจัดเก็บเช่นเดียวกัน ซึ่งใน อนาคตต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ แล้วย้อนกลับไปเช็กกับข้อมูลตารางต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน
- สรุปการจัดเก็บในอนาคต จะจัดสรุปเป็นกลุ่มพลังงาน โดยแปลงจากภาษาเทคนิคมาเป็นภาษาทางธุรกิจ มากขึ้น และได้จัดทําตัวอย่างไว้ในรายงาน เพื่อเป็นแนวทางการกําหนดการจัดเก็บข้อมูลไว้เพ่ือเป็นพ้ืนฐาน ในทุกกลุ่มพลังงานที่จะดําเนินการ
- ที่ปรึกษาได้จัดทําแผนผังข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซ่ึงจัดทําเป็น 3 รูปแบบ คือ แผนผังการรับส่งและ เผยแพร่ในปัจจุบันของกระทรวงพลังงาน ระบบในปัจจุบันของ สนพ. และ ศูนย์พลังงานแห่งชาติที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคต แผนผังที่ 1 เป็นแผนผังการรับส่งข้อมูลในกระทรวง ซึ่งภายในกระทรวงเองน้ัน
2/4/63 - 3