Page 747 - NEIC_FINAL REPORT
P. 747

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือน แผนพลังงานของประเทศไทย
3. ระบบเชื่อมต่อข้อมูลภายนอกในลักษณะAPIGatewayทั้งขาเข้าขาออก 4. ระบบETLแบบOnlineเพื่อประมวลผลข้อมูลที่เป็นTransactional
5. โครงสร้างพื้นฐานทางเครือข่ายและระบบความปลอดภัย
จะเห็นว่าระบบที่ 3 เป็นสาเหตุให้ไม่สามารถคาดเดาภาระงานของระบบได้มากนัก และจะส่งผลกระทบต่อ ส่วนท่ีเหลือท้ังหมด ที่ปรึกษาจึง เห็นว่าควรใช้ตัวแบบอ้างอิง (Reference Model) ในระดับ Physical แบบ Hybrid Cloud ที่ประกอบไปด้วยระบบ Private Cloud ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของความต้องการการใช้ งานได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ต้องมี Public Cloud คู่ขนาน ที่จะสามารถถ่ายโอนภาระงานที่เกินกว่าที่ระบบ Private Cloud จะรองรับได้ ในลักษณะ Live Migration หรือการทํา Load Balancing ระหว่างสองระบบ สําหรับ ในระดับ Logical จะใช้การสร้าง Server Cluster ที่รวมเอาระบบทาง Physical ทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อสนับสนุน การทํางานที่มีความยืดหยุ่น การทํา Live Migration และการทํา Backup ทั้งในส่วนข้อมูลและส่วนระบบ
สําหรับรายละเอียดการออกระบบในชั้นกายภาพของศูนย์ข้อมูล สนพ. เนื่องจากสถาปัตยกรรมปัจจุบัน ก็สามารถรองรับภาระงานที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ โดยไม่มีปัญหา Over load หรือ Peak load แต่อย่างใด และเมื่อ พิจารณาถึงภาระงานในอนาคต ซึ่งก็มีเพิ่มไม่มากนักในมุมของปริมาณ (Volume) แต่อาจจะเพิ่มในมุมของรูปแบบ (Variety) และรายละเอียดเชิงเวลา (Velocity) จึงเห็นว่าควรขยายระบบในระดับกายภาพ อย่างน้อย 3 เท่าจาก ระบบปัจจุบัน ทั้งในระดับความสามารถของเครือข่าย (Network Capacity) และความสามารถในการประมวลผล (Processing Capacity) โดยเป็นระบบที่สอดคล้องกับ Uptime Institute Certificate ใน Tier II และทําการเปล่ียน ผ่านระบบจากเครื่องให้บริการเดี่ยว (Stand-alone server) มาเป็นระบบคลาวด์ภายใน (Private cloud) ใน ลักษณะ Hyper-converge Infrastructure ตั้งแต่ระดับโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายขึ้นไปถึงระบบเครื่องให้บริการ เพื่อให้สามารถจัดการการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยายระบบต่อไปได้ง่าย และเพื่อบรรลุเป้าหมายให้ ได้ระดับ Tier III ในอนาคต
สําหรับศูนย์ข้อมูลของศูนย์สารสนเทศพลังงาน จะต้องออกแบบให้สามารถขยายเพิ่มได้ง่ายในอนาคต เพื่อรองรับภาระงานที่อาจจะมีมากขึ้น ดังนั้นในระดับกายภาพจึงต้องมุ่งเน้นทั้งความง่ายในการขยายระบบ และ พร้อมใช้งาน เนื่องจากต้องจัดการภาระงานในลักษณะที่เป็น Online processing ซึ่งอาจจะมีการทํางานที่เป็น ลักษณะ Peak load ขึ้นมาได้ แต่โอกาสเกิด Over load ท่ีคาดเดาไม่ได้น้อย จึงเห็นว่าควรใช้ระบบที่สอดคล้องกับ Uptime Institute Certificate ใน Tier II และใช้ระบบ Hyper-converge infrastructure เช่นกัน โดยตั้งเป้าเพ่ือให้ ได้ระดับ Tier III ในอนาคต
Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์
6.5-4
รายงานฉบับสมบูรณ์
 6 - 37
























































































   745   746   747   748   749