Page 631 - NEIC_FINAL REPORT
P. 631

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อน แผนพลังงานของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์
1. มีความถูกต้อง(Consistency)และสอดคล้อง(Integration)กันของข้อมูล
2. สามารถเช่ือมโยง(Interoperability)กับฐานข้อมูลทั้งภายในและภายนอกได้
3. สามารถนําไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล(DataAnalytics)ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการวิเคราะห์
ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics)
โดยในหลักการการออกแบบระบบข้อมูลขนาดใหญ่จะประกอบไปด้วยส่ีด้านคือ
1. การได้มาซึ่งข้อมูล(DataAcquisition)เป็นการกําหนดวิธีการ(Protocol)นโยบาย(Policy)และกฎ(Rule) ที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่จะจัดเก็บมีความถูกต้อง ทันสมัย และพร้อมต่อการใช้งาน โดยต้องสอดรับการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากการประมวลผลข้อมูลแบบ Transactionalไปเป็น การประมวลผลแบบ Big Data ซึ่งอาจจะหมายถึงตั้งแต่กระบวนการเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Data Transition) จากฐานข้อมูลที่เป็น Transactional Database ที่มีอยู่เดิม มาเป็นการจัดเก็บข้อมูลบนระบบ Data Warehouse หรือ Data Lake รวมไปถึงการเปลี่ยนโครงสร้างข้อมูลในระดับ Schema เพื่อเปลี่ยน รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมมากขึ้น
2. ธรรมาภิบาลข้อมูล(DataGovernance)เป็นการกํากับดูแลข้อมูลตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ (End-to-End Process) เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เหมาะสม ทันสมัย และ เข้าถึงได้ ตลอดอายุ ของข้อมูล รวมถึงการที่ระบบจัดเก็บข้อมูลจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว (Agility) เพื่อให้ สามารถตอบสนองต่อความต้องการและความท้าทายใหม่ ๆ ซึ่งการจัดทําธรรมาภิบาลข้อมูล จะต้องถูก กําหนดเป็นนโยบายขององค์กร และถูกปฏิบัติโดยทุกภาคส่วนขององค์กร เพื่อให้มั่นใจในทุกขั้นตอนของ การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล จะสอดคล้องกับแนวปฏิบัติท่ีกําหนดไว้
3. การบูรณาการข้อมูล(DataIntegration)เนื่องจากข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์มีทั้งข้อมูลที่จัดเก็บไว้ใน หน่วยงานเอง และข้อมูลของหน่วยงานภายนอก ที่อาจจะเข้าถึงผ่านกระบวนการอัตโนมัติ เช่น การเข้าถึง ผ่าน API หรือกระบวนการกึ่งอัตโนมัติ เช่น การอัพโหลดไฟล์ Microsoft Excel ขี้นระบบเพื่อดึงข้อมูล ที่อยู่ภายใน ซึ่งการที่มีข้อมูลทั้งภายในและภายนอก ระบบบริหารจัดการข้อมูลและการพัฒนาระบบงาน ข้อมูลจึงต้องรองรับการเชื่อมต่อของข้อมูลแบบบูรณาการ ทั้งลักษณะของการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง หรือ การดึงข้อมูลจากภายนอกเก็บไว้ในระบบข้อมูล โดยมุ่งเน้นความถูกต้อง เหมาะสม ทันสมัยและเข้าถึงได้ ของข้อมูล รวมท้ังตอบสนองต่อการเปล่ียนแปลงทั้งภายในและภายนอกอย่างมีประสิทธผิ ลและประสิทธิภาพ
5.2-5
5 - 27
 Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์





















































































   629   630   631   632   633