Page 561 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 561
ความเป็นมา
โครงการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับ การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศไทย เป็นโครงการเพื่อศึกษา การจัดตั้งศูนย์สารสนเทศและพลังงานแห่งชาติที่จะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมข้อมูลแลกเปล่ียนข้อมูลพลังงาน ในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์ในทางตรงหรือทางอ้อมกับกระทรวงพลังงาน ช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงกระทรวงพลังงานเองสามารถใช้ จัดหา และกระจายข้อมูลไปยังผู้ใช้งานในระดับต่าง ๆ ทั้งนี้ ที่ปรึกษา จะทําการทบทวน รวบรวม และศึกษาข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานในกํากับ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานอ่ืน ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลด้านพลังงานของประเทศ เพ่ือทราบถึง ความถี่ ขนาด ปริมาณและรูปแบบในการจัดเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล วิธีการเผยแพร่ ข้อมูล กระบวนการส่งต่อข้อมูล เพื่อเป็นองค์ประกอบในการออกแบบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและ การเชื่อมโยงข้อมูลด้านพลังงานของประเทศภายในศูนย์สารสนเทศพลังงานชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพ่ือสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีตามนโยบายของรัฐบาล
สรุปการประชุม
ผู้แทน สนพ. นําเรียนถึงท่ีมาของโครงการฯ และจุดมุ่งหมายโครงการ ความว่า ทาง สนพ. ได้รับคําสั่ง จากคณะปฏิรูปให้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานชาติ เพื่อรวบรวมข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับพลังงานเพื่อเผยแพร่แก่หน่วยงานต่าง ๆ และภาคประชาชน โดยข้อมูลนั้นจะสนับสนุนแผน PDP EEDP AEDP Oil และ Gas โดยสามารถเผยแพร่ผ่านช่องทาง เช่น web site หรือ mobile app ผลท่ีจะได้รับ จากการศึกษาคือการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ของศูนย์สารสนเทศพลังงานชาติเพื่อกําหนดพันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ Roadmap Action Plan และประเมิณแผนการลงทุน รวมทั้งออกแบบศูนย์ฯ โดยทําการสํารวจข้อมูล 29 หน่วยงานตามที่ทางปฏิรูปได้ศึกษามาแล้วว่ามีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน ซึ่ง สนพ. ต้องการข้อมูล เชิงลึก ศึกษาถึงการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน จัดทําร่างธรรมาภิบาลข้อมูล ด้านพลังงาน (Data Governance) การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytics) และออกแบบ IT Infrastructure และจัดทํา Prototype ซึ่งมีการจัดจ้างที่ปรึกษาคือ บริษัท iNET ประเทศไทย จํากัด เพ่ือดําเนินการศึกษาโครงการ
ที่ปรึกษา ได้รายงานแผนการดําเนินการโครงการฯ แก่ที่ประชุมทราบว่าผลการดําเนินงานแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือยุทธศาสตร์และ conceptual design ในส่วน conceptual design ซึ่งรัฐบาลผลักดัน แผนพัฒนา digital ซึ่งศูนย์ฯ นี้ต้องตอบสนองแผนดังกล่าวด้วยเช่นกัน ทปษ. จึงใช้แผนดังกล่าวเป็นกรอบ ในการศึกษา และมีการใช้เครื่องมือในการออกแบบ design คือ (1) Data Governance Framework V.1
กฟภ.-3