Page 305 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 305

 ที่จะสามารถนําเข้ามาใช้วิเคราะห์ได้ จึงตั้งต้องรอบคอบในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หากต้นทาง ข้อมูลดูไม่ถูกต้องควรมีการแจ้งเพ่ือดําเนินการแก้ไข
ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมพัฒนาและอนุรักษ์พลังงาน เสนอว่า ปัจจุบันหน่วยงาน พพ. และภายในกระทรวงเองมีการนําเข้าข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกหลายหน่วยงาน เมื่อมีศูนย์สารสนเทศพลังงานชาติควรเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสําหรับกระทรวง หากเมื่อหน่วยงานใดใน กระทรวงพลังงานต้องการใช้ข้อมูลให้ใช้ข้อมูลจากศูนย์ เพื่อว่าหากมีการปรับเปล่ียนค่าจะได้ใช้ข้อมูลเดียวกัน
ผู้อํานวยการกองขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ กล่าวว่าการตกลงและจัดรูปแบบข้อมูล (data format) เป็นสิ่งสําคัญซึ่งจะช่วยลดปัญหาความถูกต้องของข้อมูลได้ระดับหนึ่ง หากแต่การจัดรูปแบบ ข้อมูลระหว่างหน่วยงานนั้นเป็นไปค่อนข้างยาก ซ่ึงในโครงการน้ีอาจเพียงแค่จัดรูปแบบของข้อมูลภายใน สนพ. เองและจัดทําต้นแบบ (prototype)
ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารสํานักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กระบวนการ ที่นําเสนอ (workflow) นั้นดีหากสามารถทําได้ทั้งหมดเพียงแต่ยังคงอยู่เพียงระดับเนื้อข้อมูล (descriptive data)และตอ้งการให้ข้อมูลท่ีมีความแม่นยําในระดับการเก็บข้อมูลdatawarehouseซึ่งเป็นส่ิงสําคัญในการ รวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องแม่นยํา แต่ยังคงไม่เห็นเป็นระบบ Big Data ที่มีการสร้างแบบจําลอง (model) เพ่ือการวิเคราะห์ (analyticฃs) และการคาดการณ์ (prediction)
ท่ีปรึกษาฯ แจ้งว่าปัจจุบัน พพ. มีโครงการหลายโครงการท่ีเร่ิมเก็บข้อมูลระดับย่อย เช่น จากอุปกรณ์ IoT ท่ีติดต้ังยังหน่วยงาน อาคารต่าง ๆ เพ่ือเก็บข้อมูลการใช้พลังงานหน้ามิเตอร์ ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดและ ตรงกับการใช้งานจริง ซึ่งต่างจากปัจจุบันท่ีมีการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานท่ีได้จากการไฟฟ้า และมีโครงการที่ เก็บข้อมูลอย่างต่อเน่ืองเพื่อเป็นพ้ืนฐานสําหรับระบบ Big Data
วิศวกรชํานาญการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า พพ. มีหน้าท่ีกํากับดูแล การใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานตามแผน EEP และ AEDP โดยดูติดตามผลจากข้อมูลรายงาน ที่หน่วยงาน อาคาร โรงงาน และโครงการต่าง ๆ ส่งเข้ามา พพ. จะดูถึงศักยภาพของการใช้พลังงาน ตรวจสอบ ความถูกต้องของรายงาน หากตรวจสอบพบข้อสงสัยจะมีการสอบถามไปยังแหล่งที่มาของรายงานเพ่ือ ทําการแก้ไขหากพบข้อผิดพลาด และ พพ. ได้เร่ิมการจัดเก็บข้อมูลด้วยการใช้ electronic form และมีรูปแบบ การนําเข้าที่เป็น electronic มากขึ้น การจัดทํา Big Data ของ พพ. นั้นเกิดจาก use case สิ่งที่ปรึกษา รายงานนั้นดูจากด้านล่างข้ึนมา และยังมองว่ายังขาดด้าน data analytics ท่ีนําข้อมูลท่ีจัดเก็บมาใช้ประโยชน์
18/12/62 - 10




























































































   303   304   305   306   307