Page 306 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 306

 มากขึ้น ซึ่งคาดหวังว่าท่ีปรึกษาจะทําการศึกษาให้เห็นแนวทางชัดเจนขึ้น จึงขอฝากเรื่องการจัดทํา use case และจะมีการเก็บข้อมูลด้านทดแทนมากข้ึน
ผู้อํานวยการอาวุโส กลุ่มงานดาต้าอนาไลติกส์ ธปท. กล่าวว่า พพ. มีหน้าที่คล้าย ธปท. ที่มีการรวบรวมข้อมูลจากแหลง่ ข้อมลู หลากหลายแล้วเก็บไว้ในตาราง (tables) และหากมีการออกแบบรูปแบบ ข้อมูลและกระบวนการเชื่อมต่อข้อมลู ไว้รองรับช่องทางต่าง ๆ ท่ีจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การรับข้อมูลจาก IoT แล้วจะดีมาก
ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายบริหาร ศูนย์รังสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ควรมีการศึกษาเพ่ือประเมินการนําเข้าข้อมูลเดิมและประเมินขนาดของข้อมูลที่นําเข้าปัจจุบันและคาดการณ์ ขนาดของข้อมูล (sizing) ที่จะรองรับในอนาคต และควรมีการใช้ Robotic Process Automation (RPA) เ ข้ามาช่วย
วิศวกรชํานาญพิเศษแทนผู้อํานวยการกองกํากับและอนุรกัษ์พลังงานกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน กล่าวชี้แจงว่าทาง พพ. ได้มีการจัดทําระบบ E-Form เพื่อให้โรงงานและอาคารควบคุม กรอกข้อมูลรายงานการจัดการพลังงานในระบบซึ่งจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของการกร อกข้อมูล เพ่ือเพิ่มความถูกต้องของข้อมูล
หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสารสนเทศพลังงาน สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน ฝากทบทวนรายงาน ที่ระบุว่า พพ. นําเข้าข้อมูลพลังงานทดจาก สนพ. นั้นนําเข้าข้อมูลอะไร และอย่างไร เนื่องจากปัจจุบัน สนพ. ก็ใช้ข้อมูลพลังงานทดแทนจาก พพ.
ผู้อํานวยการกองกํากับและอนุรักษ์พลังงาน แทนรองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน กล่าวว่า ต่อไปจะมีการเก็บข้อมูลจากโรงงานที่ติดแผงโซล่าให้อยู่ในฐานเดียวกัน และจะมีการ เก็บข้อมูลเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารอง (Generator)
ท่ีปรึกษา รับข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ และตรวจสอบความถูกต้องของรายงาน
มติท่ีประชุม ที่ประชุมรับทราบเห็นชอบ วาระท่ี 5 – เรื่องอื่น ๆ
  18/12/62 - 11


























































































   304   305   306   307   308