Page 285 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 285

 ท่ีปรึกษาได้สอบถามและเก็บข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงานในแต่ละหมวดของข้อมูลตามนี้
ในส่วนของข้อมูลด้านไฟฟ้า (Electricity) จะมีการเก็บข้อมูลในส่วนของการผลิต การใช้ และจํานวน ยอดขายของไฟฟ้าท่ีได้มาจากการไฟฟ้าฝา่ ยผลติ แห่งประเทศไทย (EGAT) การไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟา้ ส่วนภูมิภาค (PEA) และรายละเอียดของการผลิตจาก บริษัท ปตท. จํากัดซึ่งข้อมูลถูกนํามาในรูปแบบไฟล์ Microsoft Excel หรือในแบบ VSPP ที่ผู้รับผิดชอบจะทําการโอนข้อมูลแบบอัตโนมัติเข้าฐานข้อมูล (Transfer) ในส่วนของการผลิต แต่จะทําการคีย์ข้อมูลโดยมือ (Manual Entry) ในส่วนของการใช้ไฟฟ้าซึ่งใช้เวลา ร้อยละ ๑๐ ของเวลาการทํางาน
ในส่วนของถ่านหิน ได้มีการเก็บข้อมูลที่มาจากกรมศุลกากรซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกประมวลแล้วนั้นเป็น รายเดือน ข้อมูลด้านน้ีไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้และ สนพ. ไม่สามารถแก้ไขได้
ข้อมูลน้ํามัน จะเก็บราคาข้อมูลของราคาน้ํามันต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินแต่ละ ประเทศซึ่งเก็บจากเว็บไซต์สากลที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลน้ํามันของโลกและข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคาร แห่งประเทศไทย ข้อมูลด้านน้ํามันจะถูกเก็บเป็นรายสัปดาห์ และใช้ระบบการ Transfer เป็นการนําข้อมูลเข้าฐาน
ข้อมูลด้านแร่จะเน้นไปทาง Lignite ข้อมูลด้านนี้จะมาจากท่ีทาง สนพ. และทาง EGAT ในรูปแบบ Excel จากกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ (DPIM)
ข้อมูลด้านพลังงานทดแทนจะมาจากทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทน (พพ.) ซึ่งเป็นข้อมูลด้านการผลิต อุปทาน และค่าเฉลี่ยท้ังหมด ข้อมูลท่ีนําส่งเป็นข้อมูลย้อนหลัง 3 เดือน
ส่วนข้อมูลด้านอ่ืน ๆ นั้นจะมีข้อมูลด้านกรมเชื้อเพลิงของข้อมูลพลังงานแต่ละส่วน และจัดเก็บในรูปแบบ Excel และ HTML ซึ่งใช้ระบบการนําข้อมูลเข้าระบบด้วยมือ (Manual process) และมีระบบการ cross-check ระหว่างข้อมูลจากหลายแหล่ง ส่วนความถี่ของการเก็บข้อมูลขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลที่ทางผู้ใช้ได้แจ้งว่าข้อมูลจาก พพ. จะเป็นข้อมูลย้อนหลังซ่ึงจะส่งเป็นรายปี
โดยรวมแล้ว ข้ันตอนการทํางาน (Workflow) สามารถสรุปได้ว่าเป็นการนําไฟล์ได้มาส่งต่อให้ผู้รับผิดชอบ ข้อมูลด้านนั้นจะนําไปใส่เข้าฐานข้อมูลของแต่ละหมวด และมีคู่มือการใช้งานในแต่ละหมวด มีข้ันตอนการเผยแพร่ ซึ่งจะถูกกําหนดด้วยเวลา (set deadlines)
ส่วนตัวฐานข้อมูลจะมีนโยบายการสํารองข้อมูล (backup) ไว้เป็นรายเดือนโดยมีปริมาณประมาณ 400 GB และไม่ค่อยมีการศึกษาไฟล์ย้อนหลัง
ทางที่ปรึกษาพิจารณาแล้วเห็นควรว่าให้ลดขั้นตอนโดยการเพิ่มตําแหน่ง Data Steward หรือผู้ที่ช่วย ออกแบบขั้นตอนและวิธีการนําเข้าของข้อมูลทั้งหมดเพื่อลดขั้นตอน และเวลาในการคีย์ข้อมูลด้วยมือ เป็นการ ปฏิบัติท่ีเป็นเลิศรวมถึงสร้างมาตรการในการใช้ Automation เป็นการนําข้อมูลเข้าฐาน
20/11/62 เช้า - 3
























































































   283   284   285   286   287