Page 257 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 257

 ในการกําหนดนโยบาย และเน่ืองด้วยข้อมูลท่ีมีอยู่มาก ระบบที่จัดทํานั้นอาจต้องมีการแบ่งงานเป็นระยะ และ ให้สามารถบริหารเรื่องงบประมาณให้ได้
ตัวแทนผู้อํานวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงพลังงงาน เสนอว่าในชว่ ง 3 เดือนแรกในการศึกษาข้อมูลนั้นควรศึกษาข้อมูลที่ทางกระทรวงมีการจัดทําอยู่บ้างแล้วเพื่อนําไปต่อยอด จะได้ทราบถึงเรื่องความพร้อมของบริการและสถิติใดที่ยังคงขาดอยู่ และตัวชี้วัดให้จัดตั้งศูนย์ภายใน 2 ปี คือ ปี 62 และเชื่อมโยงได้ภายในปี 62 ให้แสดงให้ชัดเจนว่ากําลังดําเนินการอยู่และประชาสัมพันธ์ให้รับทราบ ในช่วงการเปิดตัวจะช่วยตอบโจทย์คณะปฏิรูปฯได้
ผู้อํานวยการกองกํากับและอนุรักษ์พลังงาน พพ. แจ้งว่าปัจจุบัน พพ. ได้ให้บริการประชาชนอยู่แล้ว บางส่วนก็ได้มีการให้บริการ online อยู่แล้ว และอาจนําเสนอตามข้อเสนอแนะทางกระทรวงฯ
ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายบริหาร ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งอยู่ในคณะทํางานของ DE Government cloud แนะนําให้ดูเรื่องการ sizing ให้ระบบสามารถรองรับปริมาณงานได้ในอนาคต เช่น ใน 5 ปีข้างหน้า โดยอาจมีบางส่วนของระบบสามารถไปอยู่ใน Government Cloud
ผู้อํานวยการอาวุโส กลุ่มงานดาต้าอนาไลติกส์ ธปท. ช้ีแนะว่าต้องศึกษาให้ดีว่าทาง สนพ. จะเก็บข้อมลู ลึกแค่ไหน เนื่องด้วย สนพ. คล้าย ธปท. คือไม่มีข้อมูลของตัวเอง หลายหน่วยงานของรัฐนั้นมีข้อมูลที่ไม่ใช่ ข้อมูลสถิติ เป็นข้อมูลดิบ ใน 5 ปีข้างหน้าอาจจะเก็บได้ละเอียดขึ้น เพื่อที่จะประเมิณด้าน sizing และข้อมูล บางชนิดไม่สามารถนํามาได้เพราะไม่มีกฎหมายกํากับ ทาง สนพ. อาจต้องมีการใช้กฎหมายเข้ามาช่วย เพราะ การขอความร่วมมืออาจไม่เพียงพอ ทั้ง eco system ของพลังงานน้ันอาจดีแล้ว ข้อมูลมีเยอะมากแต่ท่ีประชาชน ใช้น้ันจะมีเพียงบางส่วน หรือ น้อยนิดเท่าน้ัน ต้องคิดว่าเราควรจะให้อะไรกลับไปในภาคประชาชน
มติท่ีประชุม รับทราบ
วาระท่ี2.3 ขอบเขตแผนงานและความก้าวหน้าของการดําเนินโครงการการจัดทําระบบข้อมูล ขนาดใหญ่ (Big Data) เพ่ือขับเคล่ือนแผน EEP และ AEDP และการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลภาค ประชาชนและแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายของอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม (กลุ่มที่ 1 การศึกษาการจัดทําระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data))
ที่ปรึกษาฯ กล่าวถึงลักษณะงานของ พพ. ท่ีแตกต่างจาก สนพ. คือ พพ. มีข้อมูลอยู่มากในกองต่าง ๆ แต่ยังขาดการใช้ข้อมูลร่วมกันกับหน่วยงานอ่ืน การจัดเก็บไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โจทย์หลักคือการ ขับเคลื่อนแผน EEP คือความต้องการใช้พลังงานของประเทศของอาคาร และ โรงงานควบคุม ซึ่งมี พ.ร.บ. กํากับไว้ และแผน AEDP เน้นการพัฒนาการพัฒนาพลังงานทดเทน แผนเรื่องไฟฟ้า การรับซื้อ solar และ bio-mass และเรื่องความร้อน การทดแทนการใช้เชื้อเพลิง fossil และ การใช้ ethanal เน้นข้อมูลด้าน supply และเริ่มเกี่ยวข้องกับด้าน demand เช่น prosumer โดยวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การสามารถ นําข้อมูลเหล่าน้ันมาบูรณาการและเชื่อมโยงพร้อมท้ังเตรียมพรอ้มระบบBigDataPlatformโดยมีการศึกษา การนําเครื่องมือและเทคนิคมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในเชิงลึก ช่วยให้ สามารถนําข้อมูลมาใช้ในการ กําหนดนโยบาย การตัดสินใจ และขับเคลื่อนแผน EEP และ AEDP อีกส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นในการ
     8/10/62 - 6


























































































   255   256   257   258   259