Page 1498 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 1498
9. หัวข้อที่9–การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์
ในอดีตท่ีผ่านมาการจัดทํานโยบาย (Policy) การกํากับดูแล (Regulation) หรือการปฏิบัติการ (Operation) ภาคพลังงาน ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีปริมาณมากมายแต่ไม่ได้นํามาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อจํากัดทางด้านเครื่องมือ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล ขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถเก่ียวกับการวิเคราะห์เชิงลึกด้านพลังงาน รวมท้ังลักษณะงานบางอย่างท่ีไม่เหมาะกับแรงงานมนุษย์
เพื่อให้การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เกิดประโยชน์สูงสุดสําหรับการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติ การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) จะเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการ ขับเคลื่อนการดําเนินงานภายใต้ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ โดยเง่ือนไขและปัจจัยที่สําคัญในการพัฒนาระบบ ปัญญาประดิษฐ์ให้สามารภทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ปริมาณข้อมูลที่มีมากเพียงพอ การพัฒนา แบบจําลองที่มีความถูกต้องใกล้เคียง ทักษะการเขียนโปรแกรม (Coding) เป็นต้น
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในภาคพลังงาน เช่น การติดตามประเมินผลและ คาดการณ์การบํารุงรักษาอุปกรณ์ภายในโรงไฟฟ้า การพยากรณ์ล่วงหน้าปริมาณการใช้พลังงานแต่ละ Sector การประเมินสภาพอากาศ (Weather Data) ที่มีผลกระทบต่อการผลิตพลังงานทดแทน หรือการใช้ AI ประมวลผล แบบจําลองที่ต้องใช้การคํานวณที่หลากหลายและซับซ้อน เป็นต้น
ฏ-20