Page 1496 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 1496

 8. หัวข้อที่8-UseCasesที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน(UC-2ด้านปิโตรเลียม)
 เป้าหมายสําคัญสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) คือการใช้ข้อมูลขับเคลื่อน (Data Driven) ยุทธศาสตร์ นโยบาย หรือการแก้ปัญหา อุปสรรค (Pain Point) ที่เกิดขึ้น โดยการกําหนด Use Case จากผู้ที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน (Stakeholder Analysis) และนําผลที่ได้จากการวิเคราะห์มา แสดงผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ (Action) ต่อไป
 กรณีศึกษา การประยุกต์ใช้ Big Data ในการสนับสนุนโยบายด้านปิโตรเลียม
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการสนับสนุนงานด้านการกํากับดูแลนโยบายและติดตามสถานการณ์ ด้านพลังงานเป็นภารกิจหลักที่สําคัญของ สนพ. โดยเฉพาะข้อมูลด้านปิโตรเลียมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามสถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในส่วนปริมาณ ราคาของเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคเอกชน ภาคประชาชน แต่ปัจจุบันข้อมูลด้านปิโตรเลียมส่วนใหญ่ที่จะใช้ในการ ประเมินสถานการณ์ยังเป็นข้อมูลเชิงสถิติ ไม่เป็นปัจจุบัน ขาดความหลากหลายมิติท่ีจะใช้ในการวิเคราะห์
ดังนั้นการประยุกต์ใช้ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) และการนําเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยี (Digital Transformation) มาทํางานร่วมกับกระบวนการทํางานในปัจจุบัน จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น วางแผนให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติในอนาคต
ฏ-18





























































































   1494   1495   1496   1497   1498