Page 1493 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 1493
7. หัวข้อท่ี7-UseCasesที่เก่ียวข้องด้านพลังงาน(UC-1ด้านไฟฟ้า)
เป้าหมายสําคัญสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) คือการใช้ข้อมูลขับเคลื่อน (Data Driven) ยุทธศาสตร์ นโยบาย หรือการแก้ปัญหา อุปสรรค (Pain Point) ที่เกิดขึ้น โดยการกําหนด Use Case จากผู้ที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน (Stakeholder Analysis) และนําผลที่ได้จากการวิเคราะห์ มาแสดงผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ (Action) ต่อไป
กรณีศึกษา การประยุกต์ใช้ Big Data ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านไฟฟ้า
ในอดีตที่ผ่านมาการจัดทํานโยบายและขับเคลื่อนโครงการเกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน ในช่วง การพัฒนาโครงการ (Development Phase) ทาง สนพ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะทําหน้าที่ในการรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ผลกระทบท่ีจะเกิดข้ึน และนําเสนอรูปแบบการพัฒนาโครงการเพ่ือขออนุมัติต่อผู้บริหาร แต่ในช่วง การดําเนินโครงการ (Implementation Phase) ตามนโยบายหรือแผนงานที่วางไว้ ทาง สนพ. จะไม่ได้รับข้อมูล ผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง จึงส่งผลให้ขาดข้อมูลที่สําคัญเพื่อมาประเมินผลและการวิเคราะห์นโยบาย (Regulatory Impact Assessment) ต่อไปในอนาคต
ดังนั้นการประยุกต์ใช้ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) มาร่วมกับการประเมินผลกระทบโครงการจะเป็น เครื่องมือที่สําคัญในการจัดทํานโยบายแบบแม่นยํา (Precise Policy) โดยการใช้ข้อมูลจากหลากหลายที่มา ปริมาณมาก และมีความรวดเร็วจากแต่ละภาคส่วนท่ีเก่ียวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ครอบคลุม
ฏ-15