Page 1265 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 1265
แบบฟอร์มคําของบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2564 สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน
1. ชื่อโครงการ งานพัฒนาบุคลากรการขับเคลื่อนและสนับสนุนศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ
2. การเชื่อมโยงกับแผนระดับต่างๆ
2.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ
2.3 แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ด้านการบริหารจัดการพลังงานตามหลักธรรมาภิบาล
ประเด็นการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ 2.4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
3. หลักการและเหตุผล
การปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัลเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สําคัญของรัฐบาล เพื่อเพิ่มศักยภาพ
ทางการแข่งขันและเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นประเด็นนโยบายที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมได้นํามากําหนดเป็นหนึ่งใน 6 ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ระยะ 20 ปี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 ภายใต้วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “ดิจิทัลไทยแลนด์” หรือประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์และ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมข้อมูล ทุนมนุษย์และทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง ม่ังคั่ง และยั่งยืน
ในปัจจุบันเมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างบุคลากรภาครัฐ พบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ในฝ่ายข้าราชการพลเรือน (ตําแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ และตําแหน่งเจ้าหน้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ มีจํานวนน้อยมากมีเพียง 2,334 ตําแหน่ง หรือร้อยละ 0.58 ของจํานวนตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งหมด และเมื่อพิจารณาการกระจายตัวของบุคลากรในระดับองค์กร พบว่า ส่วนราชการ (กรม) หนึ่งๆ จะมีผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ประมาณ 1-15 คน และเป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนภารกิจหลัก ของส่วนราชการเท่านั้น อีกทั้งเมื่อพิจารณาศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มนี้ พบว่า ยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และขาดทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนกระบวนการทํางานและการให้บริการแกป่ระชาชน
คณะรัฐมนตรีกําหนดแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในส่วนของการพัฒนากําลังคน ให้มีความพร้อมไว้ใน “ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากําลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล” กําหนดแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากําลังคน 3 กลุ่ม ได้แก่ การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากร ในตลาดแรงงานรวมถึงบุคลากรภาครัฐ การพัฒนาทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่รองรับเทคโนโลยีใหม่ ในอนาคต ให้กับบุคลากรในสายวิชาชีพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของรัฐ
1