Page 1197 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 1197
2) เพื่อออกแบบและพัฒนาการเข้าถึงข้อมูล ในการนําข้อมูลไปใช้และการเผยแพร่ข้อมูล สําหรับ การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ในระบบ Energy Data Management System เพื่อสนับสนุนการจัดการ ข้อมูลในการดําเนินงานของศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ
5. ขอบเขตและวิธีดําเนินงาน
แผนงานการรวมศูนย์ข้อมูลที่มีความหลากหลายและกระจัดกระจาย (Data Virtualization) ในระบบ Energy Data Management System
เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลพลังงานทั้งหมดในศูนย์ฯ ทั้งระดับพลังงาน ภูมิภาค กลุ่มธุรกิจ ประเภทพลังงาน บุคคล/นิติบุคคล จึงมีความจําเป็นในการจัดหาระบบงานที่รวมถึงเครื่องแม่ข่าย อุปกรณ์ การทํางาน ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมและซอฟต์แวร์ที่จําเป็นในการจัดหาและพัฒนาเครื่องมือการเข้าถึง และบริหารจัดการข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดเตรียมข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง และขยายช่องทางการเข้าถึงข้อมูล ให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น และรองรับข้อมูลแบบมีโครงสร้าง (Structured Data) กึ่งโครงสร้าง (Semi- structured Data) และไร้โครงสร้าง (Unstructured Data) และระบบที่เหมาะสมจะเป็นเครื่องมือหลัก ในการสนับสนุนการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และกําหนดนโยบายของกระทรวงพลังงานได้ดียิ่งขึ้น สนับสนุนให้มี การใช้ข้อมูลอย่างกว้างขวางภายในองค์กร และขยายการแบ่งปันข้อมูลกับภายนอก ทางศูนย์ฯ จึงมีความ จําเป็นต้องจัดหาระบบงาน โดยมีขอบเขตงาน ดังนี้
• จัดหาและพัฒนาเครื่องมือDataVirtualizationเพื่อสนับสนุนการรวมศูนย์ข้อมูลที่มาจาก หลายแหล่งข้อมูลและทจี่ัดเก็บกระจัดกระจายบนหลายPlatform
• พัฒนา/ปรับปรุงระบบ/ฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลพลังงานที่มีอยู่ในระบบข้อมูล ของศูนย์ฯ ตามแนวทางที่ธรรมาภิบาลข้อมูลกําหนดและสอดคล้องกับ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
• พัฒนา/ปรับปรุงระบบ/ฐานข้อมูล สําหรับแบ่งปันให้กับหน่วยงานนําร่องภายนอกใช้งานได้ เพื่อเตรียมขยายสู่ผู้ใช้งานภายนอกให้กว้างขวางขึ้น
2