Page 1103 - NEIC_FINAL REPORT_Appendix
P. 1103
1. บทนํา
จากการที่ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ ต้องได้รับข้อมูลพลังงานมาจากหลายแหล่งตามบทบาท หน้าที่และความร่วมมือ โดยเป็นข้อมูลที่มีความละเอียด (Granularity) และมีข้อบังคับความมั่นคงปลอดภัย ที่หลากหลายตามฐานการได้มาของข้อมูล จึงจําเป็นต้องมีการวางกรอบนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ในการจัดเก็บ จัดการดูแล นําไปใช้ และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศที่ประมวลและค้นพบ (Process และ Discovery Insights) เกี่ยวกับพลังงานของประเทศให้เป็นระบบและมาตรฐาน พร้อมท้ัง มีความสอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติภายในท่ีเป็นไปตามกฎหมายด้านข้อมูลดังท่ีได้กล่าวมา
กรอบนโยบายจะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวปฏิบัติที่ฝ่ายงานต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯและส่วนงาน ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกระทรวงพลังงานต้องนําไปใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยเข้าใจถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของการมีส่วนได้ส่วนเสียในข้อมูล รวมทั้งเป็นต้นแบบการดูแลข้อมูล และส่งเสริมความ เชื่อมั่นของศูนย์ฯ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนําข้อมูลด้านพลังงานของประเทศไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกด้วย
โดยธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ครอบคลุมถึง การกํากับดูแลข้อมูล รวมถึงการกําหนด สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และแนวทางปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งวงจรชีวิต (Life Cycle) ตั้งแต่ การสร้าง ประมวลผล จัดเก็บ ใช้งาน และการจัดการเมื่อพ้นระยะใช้งานข้อมูล ทั้งนี้ หลักการสําคัญของ ธรรมาภิบาลข้อมูลได้แก่ การสร้างความสมดุลระหว่างการสร้างคุณค่าจากข้อมูลและการบริหารความเสี่ยงและ ความเข้ากันกับกฎระเบียบและมาตรฐานอย่างเหมาะสม (Balance between value creation, and risk and compliance) ซึ่งการสร้างคุณค่าสามารถครอบคลุมถึงการได้ข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มีคุณภาพ และการเตรียมข้อมูลให้การเข้าถึงอย่างสะดวกและถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนําไปใช้ได้ ทันท่วงที การใช้ข้อมูลให้ก่อประโยชน์ให้คุ้มค่า ในขณะท่ีการบริหารความเสี่ยง (Risk) และความเข้ากัน (Compliance) กับกฎหมาย มาตรฐานต่าง ๆ จะครอบคลุมถึงความปลอดภัยข้อมูล คุณภาพข้อมูล การจัด ชั้นข้อมูล ความครบถ้วนของคําอธิบายข้อมูล สถาปัตยกรรมข้อมูล
ฉ-2