Page 740 - NEIC_FINAL REPORT
P. 740

6 - 30
อินเดีย
- ติดตั้งระบบปรับอากาศเฉพาะส่วน เพื่อให้ได้อุณหภูมิตามที่ต้องการเฉพาะในบริเวณที่สําคัญ โดยใน
บริเวณที่ไม่สําคัญของศูนย์ข้อมูลจะได้ระบบปรับอากาศทั่วไป โดยปฏิบัติตามมาตรฐานระดับ
Uptime Institute Tier 1 และมีการเตรียมการเพื่อยกระดับข้ึนสู่ระดับท่ีสูงขึ้นต่อไป
- อุปกรณ์ทําความเย็นต่าง ๆ ถูกผลิตภายใต้มาตรฐาน ISO9001
- ใช้ระบบ UPS เป็นแหล่งพลังงานสํารอง และยังมีชุดเครื่องกําเนิดไฟฟ้าท่ีมีกําลังเพียงพอและพร้อมใช้
งานสํารองอีกช้ันหนึ่ง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับยืดเยื้อ
สหราชอาณาจักร
- ติดตั้งมิเตอร์วัดค่าพลังงานที่ใช้ในศูนย์ข้อมูลทั้งหมด และต้องมีการรายงานผล โดยในรายงานจะ
ประกอบไปด้วย รายงานเกี่ยวกับการใช้พลังงานและค่าสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รวมไปถึงค่า Data
Center infrastructure efficiency (DCiE) ซึ่งเป็นแนวทางที่ดี ที่สามารถทําได้ในประเทศไทย
- ใช้การกักเก็บลมร้อน-ลมเย็น (Hot/Cold aisle containment)เพ่ือช่วยควบคุมอุณหภูมิในศูนย์ข้อมูล
- นําระบบแสงไฟประหยัดพลังงานมาใช้ และมีระบบเปิดปิดอัตโนมัติช่วยควบคุม
- ใช้ระบบUPSแบบmodular(ขยายได)้ในการสํารองไฟฟ้า
สําหรับในประเทศไทย เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนชื้นตลอดทั้งปี การนําเอาอากาศภายนอกมา ช่วยลดอุณหภูมิภายในศูนย์ข้อมูลจึงทําได้ยาก จึงควรมุ่งเน้นการใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง และ ควบคุมอุณหภูมิในห้องไม่ให้สูงจนเกินไป นอกจากน้ัน การเฉลี่ยภาระงานบนเครื่องให้บริการ เพื่อลดการใช้ความเร็ว ในการประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลางท่ีสูงเกินไป ก็ยังช่วยลดทั้งความร้อน และ การใช้พลังงานอีกด้วย
ด้านสถานที่ตั้ง
อินเดีย
- ศูนย์ข้อมูลถูกกําหนดให้สร้างตรงกลางภายในอาคาร โดยศูนย์ข้อมูล 1 แห่งต้องใช้พื้นที่ประมาณ
4,000 ตารางฟุต ชั้น 1 ของอาคารคือชั้นที่เหมาะสมสําหรับศูนย์ข้อมูลที่สุด และไม่แน่ะนําให้สร้างท่ี ชั้นใต้ดินหรือชั้นบนสุด เพื่อหลีกเล่ียงการรับความร้อนจากภายนอก
6.4-2
Strategic Design and Development Study of the National Energy Information Center to Support National Energy Plan โครงการศึกษาการจัดทําาแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศไทย
โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อน แผนพลังงานของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์
 










































































   738   739   740   741   742