Page 739 - NEIC_FINAL REPORT
P. 739

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคล่ือน แผนพลังงานของประเทศไทย
การออกแบบพื้นที่ทางกายภาพ
ในประเทศไทย ยังไม่มีการกําหนดมาตรฐานศูนย์ข้อมูลในประเทศอย่างชัดเจน โดยในปีพ.ศ. 2560 สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (ในขณะน้ัน) ได้ทําการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์ ข้อมูลภาครัฐ (Government Data Center Modernization) แต่ยังไม่ได้ออกเป็นมาตรฐาน ซึ่งท่ีปรึกษาก็ได้ใช้ เอกสารจากกาประชุมนี้ในการกําหนดกรอบมาตรฐานหลาย ๆ ด้าน ในการออกแบบศูนย์ข้อมูลของศูนย์ฯ เพื่อให้ มั่นใจได้ว่าเมื่อมีการกําหนดมาตรฐานศูนย์ข้อมูลในระดับชาติแล้ว ศูนย์ข้อมูลของศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ จะสามารถเทียบเคียงได้ตามมาตรฐานดังกล่าว
ในต่างประเทศ ได้มีการกําหนดมาตรฐานศูนย์ข้อมูลในหลาย ๆ ด้าน เช่น
ด้านพลังงานและไฟฟ้า
ออสเตรเลีย
- นําระบบให้คะแนนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (NABERS) ที่เป็นมาตรฐานของออสเตรเลียมา
ให้กับศูนย์ข้อมูลด้วย ซึ่งในประเทศไทยมีการผลักดันมาตรฐาน Green Computing และ Carbon
Footprint อยู่ แต่ยังไม่เป็นรูปธรรม
- ลดพลังงานที่อุปกรณ์ ICT ต้องการใช้ และกําหนดค่าตัวประกอบกําลังไฟฟ้า (Power factor) อยู่ที่
0.95 ถึง 0.99 ซ่ึงเป็นแนวทางเดียวกับมาตรฐานเบอร์ 5 ท่ีใช้ในประเทศไทย
- สําหรับระบบทําความเย็นจะใช้อากาศภายนอกในการช่วยทําความเย็นคิดเป็น 50% ของเวลาโดยบาง เมืองอาจใช้มากกว่า 80% ของเวลา และยังนําระบบกักลมเย็นหรือร้อน (Hot or cold aisle) มาใช้ งานด้วย แต่ในประเทศไทย อาจจะทําในลักษณะนี้ได้ยาก เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยในประเทศไทย
ค่อนข้างสูง
- เพิ่มอุณหภูมิศูนย์ข้อมูลให้ทํางานอยู่ที่ 23-28 องศาเซลเซียส จากเดิมที่ใช้มาตรฐาน ASHRAE ของ
สหรัฐอเมริกาที่กําหนดไว้ที่ 18-21 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจจะเหมาะสมกับประเทศไทย โดยเฉพาะใน เวลากลางคืน ที่อุณหภูมิเฉลี่ย จะต่ํากว่า 30 องศาเซลเซียส แต่ต้องพิจารณาถึงช่วงอุณหภูมิใช้งาน ของอุปกรณ์ในห้องศูนย์ข้อมูลด้วย
- ใช้เคร่ืองกําเนิดไฟฟ้าแบบดีเซลในการสํารองไฟฟ้าเป็นหลัก 6.4-1
รายงานฉบับสมบูรณ์
  Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์
6 - 29















































































   737   738   739   740   741