Page 643 - NEIC_FINAL REPORT
P. 643

โครงการศึกษาการจัดทําแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์
สารสนเทศพลังงานแห่งชาติเพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
ในการขับเคล่ือนแผนพลังงานของประเทศไทย รายงานฉบับสมบูรณ์
5.3.2 โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
ในส่วนนี้จะอธิบายถึงการศึกษาออกแบบโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ภายในศูนย์สารสนเทศ พลังงานแห่งชาติ โดยเน้นข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลภายในสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และ การออกแบบส่วนต่อเชื่อมกับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ซึ่งได้จากการสํารวจ จํานวน 2 ตัวอย่าง สําหรับ หน่วยงานอ่ืน ๆ สามารถใช้แนวทางเดียวกันได้
ฐานข้อมูลในลักษณะระบบซึ่งได้อธิบายในหัวข้อ 5.1 นั้น จะประกอบไปด้วย ฐานข้อมูลเศรษฐกิจ (Economic), ฐานข้อมูลไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนการจัดทําค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้ารายภาค (ECR), ฐานข้อมูล ดัชนีพลังงาน (E-Index), ระบบฐานข้อมูลการปล่อยสารมลพิษจากการใช้พลังงาน (Emission I), ฐานข้อมูล การปล่อยสารมลภาวะด้านการผลิตจากภาคพลังงาน (Emission II), ฐานข้อมูลการใช้ไฟฟ้ารายสาขาอุตสาหกรรม (ECS), ฐานข้อมูลราคาปิโตรเลียม (PPD), ฐานข้อมูลราคาพลังงานต่างประเทศ (IEP), ฐานข้อมูลผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองโดยไม่ขายเข้าระบบของการไฟฟ้าหรือจําหน่ายไฟฟ้าให้ลูกค้าตรง (IPS), ฐานข้อมูลพลังงาน ทดแทน (Renew), ฐานข้อมูลสถิติพลังงานประเทศไทย (ENGDB) และฐานข้อมูลผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ขนาดเล็กมาก (VSPP) ซง่ึ รายละเอียดของ ERD และ Data Structures ของศูนย์ฯ ระบุอยู่ในภาคผนวก ช
ซึ่งเมื่อได้ทําการศึกษาถึงโครงสร้างและการเชื่อมโยงขอข้อมูลในปัจจุบัน ดังแสดงในหัวข้อ 5.3.1 และข้อมูล และการเชื่อมโยงในอนาคตในหัวข้อ 5.1 ที่ปรึกษาจึงได้ทําการศึกษาและออกแบบ Entity Relationship Diagram (ERD) และโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ของศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ โดยเริ่มจากการศึกษา องค์ประกอบของฐานข้อมูลจากฐานนข้อมูลปัจจุบันที่ดูแลโดยสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน ซ่ึงเป็นหน่วยงาน ที่มีการรวบรวมข้อมูลและสถิติพลังงานจํานวนมาก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ฐานข้อมูลโดยพื้นฐานมีการออกแบบที่ดี สามารถสนับสนุนต่อพันธกิจปัจจุบันของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน แต่ยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างตาราง และฐานข้อมูล รวมปัจจุบันของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน แต่ยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างตารางและ ฐานข้อมูล รวมทั้งการมีการออกแบบที่ไม่เป็นไปตามนอร์มัลฟอร์ม (Normal Form) ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ บางส่วน ดังรูปท่ี 5.3-2 ซึ่งแสดงข้อมูลจํานวนสามตาราง จากฐาน ENGDB คือ dbprod3p dbitem และ dbcomp โดยที่ dbprod3p ต้องเชื่อมไปยังตาราง dbitem เพื่อดึงชื่อชนิดพลังงาน และเชื่อมไปยัง dbcomp เพื่อดึงชื่อ บริษัท ซึ่งจากโครงสร้างข้อมูล จะเห็นว่า ถึงแม้จะมีการแยก Identity Entity เช่น ชื่อชนิดพลังงาน และ ชื่อบริษัท ออกมาเป็นตารางแยก ตามแนวทาง First Normal Form (1NF) และมีการกําหนด Primary Key เอาไว้สําหรับทุกตาราง แต่ไม่มีการเชื่อมโยง Primary Key ของ Identity Entity กลับไปยังตารางหลัก (dbprod3p) ในลักษณะของ Foreign Key เช่น เชื่อมโยงจาก dbitem.item ไปยัง dbprod3p.type และ dbcomp.comp ไปยัง dbprod3p.comp ซึ่งทําให้มีโอกาส ที่ข้อมูลในตาราง dbprod3p อาจจะมีข้อมูลที่คอลัมน์ item หรือ comp ไม่ตรงกับข้อมูลที่อยู่ใน dbitem หรือ dbcomp ซึ่งอาจจะทําให้เกิดปัญหาทั้ง update anomaly, insertion anomaly หรือ deletion anomaly ได้ ซึ่งฐานข้อมูลทั้งหมด ของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงานท่ีท่ีปรึกษาได้เข้าไปสํารวจ จะมีลักษณะเช่นน้ีทั้งส้ิน
5.3-7
 Final Report
รายงานฉบับสมบูรณ์
5 - 39
























































































   641   642   643   644   645